วัด: รมณียสถานในสมัยพุทธกาล
คำสำคัญ:
วัด, รมณียสถาน, พุทธกาลบทคัดย่อ
บทความเรื่อง “วัด: รมณียสถานในสมัยพุทธกาล” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย ลักษณะ วัตถุประสงค์ของการสร้างวัด และหลักสัปปายะ 7 กับเสริมสร้างวัดให้เป็นรมณียสถาน คำว่า วัด เป็นคำปัจจุบันที่ใช้เรียกสถานที่จำพรรษาประกอบศาสนกิจของพระสงฆ์ แต่ในสมัยพุทธกาลนิยมเรียกวัดว่า อาราม หมายถึง สถานที่อันเป็นที่มายินดี วัดในสมัยพุทธกาลมีลักษณะเป็นสวนร่มรื่น เต็มไปด้วยหมู่แมกไม้ มีน้ำใสไหลเย็น เป็นสถานที่สงบสงัด ไม่พลุกพล่านจอแจ สะดวกต่อการเดินทาง ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านมากนัก พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สร้างวัดเพื่อเป็นที่อาศัยและเป็นสถานที่บำเพ็ญเพียรภาวนา วัดจึงมีสภาพที่ร่มรื่นเป็นรมณียสถานเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร นอกจากจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แล้ว สิ่งที่เสริมสร้างวัดให้เป็นรมณียสถานที่สำคัญ ก็คือหลักของสัปปายะ 7 ประการ ได้แก่ 1) อาวาสสัปปายะ คือ ถิ่นที่อยู่เหมาะสม 2) โคจรสัปปายะ คือ สถานที่สะดวกต่อการเดินทาง 3) ภัสสสัปปายะ คือ มีการพูดคุยแต่เรื่องที่เป็นสาราณียธรรม 4) ปุคคลสัปปายะ คือ มีบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตรคอยแนะนำ 5)โภชนสัปปายะ คือ มีอาหารเหมาะสมดี 6) อุตุสัปปายะ คือ มีดินฟ้าอากาศสภาพแวดล้อมที่เหมาะ 7) อิริยาปถสัปปายะ คือ มีอิริยาบถที่เหมาะ ผลที่เกิดจากความสัปปายะทั้ง 7 ประการ ทำให้วัดเป็นรมณียสถาน เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อขัดเกลาจิตใจ วัดจึงเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนที่ต้องการจะแสวงหาทางพ้นทุกข์ที่สำคัญในสมัยพุทธกาล
References
ทนงศักดิ์ รัตนสุคนธ์. (2543). การศึกษาพระวินัยปิฎกเพื่อเข้าใจแนวคิดและวิวัฒนาการของพุทธสถานในอินเดีย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ. (2513). ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). คำวัด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). บทนำสู่พุทธธรรม: ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระพุทธโฆสเถระ. (2556). คัมภีร์วิสุทธิมรรค แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช). (2558). ศัพท์วิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช). (2559). พจนานุกรมไทย-บาลี. กรุงเทพฯ: ปัญญมิตรการพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2560). มีวัดเป็นรมณีย์ มีกุฎีเป็นที่สบาย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
สุรชัย จงจิตงาม. (2564). วัดในสมัยพุทธกาล. วารสารปณิธาน, 17(1), 1-24.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ