รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบวกในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การพัฒนา, ภาวะผู้นำเชิงบวก, ยุคดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบวกในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบวกในยุคดิจิทัล 3) ประเมินความเหมาะสมและประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบวกในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริหาร 141 คน ระยะที่ 2 สร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนา โดยใช้แบบประเมินกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและประโยชน์ โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริหารและครูหัวหน้าวิชาการ 15 คน
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบวกในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าภาวะผู้นำเชิงบวกอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับความสำคัญของความต้องการจําเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การคิดเชิงบวก การสร้างแรงบันดาลใจ การใช้หลักการด้านสุนทรียสาธก และการการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม ตามลำดับ
- รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบวกในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการพัฒนา ประกอบไปด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ (1) การใช้หลักการด้านสุนทรียสาธก (2) การสร้างแรงบันดาลใจ (3) การยึดมั่นในสิ่งถูกต้องชอบธรรม (4) การคิดเชิงบวก และ 4) การดำเนินงานและการนำไปใช้ ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
- ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบวกในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
References
ณัฐพร จินตกานนท์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงบวกกับทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ธัมมัฏฐิตตา อยู่เจริญ และศจีมาจ ณ วิเชียร. (2560). ภาวะผู้นำเชิงพุทธที่ส่งผลต่อพฤติกรรมองค์การเชิงบวก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 11(1), 60-74.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 11). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปุณยวีร์ อวยชัยสวัสดิ์. (2561). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 6(2), 72-89. http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/196
ศศิธร ตรีรัตน์กูล (2562). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงบวกแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยการจัดการและการพัฒนา, 11(2), 101-114.
ศุภชัย พรหมมาศ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงบวกกับคุณภาพชีวิตของพนักงานในองค์กร. วารสารการจัดการและการพัฒนาองค์การ, 25(1), 1-10.
สกล เหลืองไพฑูรย์ และสุเชาวน์ พลอยชุม. (2562). การเสริมสร้างความคิดเชิงบวกตามแนวพุทธธรรม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(ฉบับพิเศษ), 113-123. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/183864
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ