แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย กรณีศึกษาชุมชนเทศบาล ตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • อติกานต์ แสวงบุญ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, การบริหารจัดการ, อุทกภัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 344 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบแอลเอสดี

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
  2. ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย มีรายการปฏิบัติ 22 รายการประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านการตัดสินใจ เช่น เทศบาลจัดประชุมประชาคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา และความต้องการในการแก้ปัญหาอุทกภัย ด้านการแก้ไขปัญหาอุทกภัย เช่น เทศบาลประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้รู้สถานการณ์น้ำ เพื่อเตรียมรับมือกับอุทกภัย ผ่านช่องทางออนไลน์ ด้านการรับผลประโยชน์ เช่น เทศบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และด้านการประเมินผลและการติดตาม เช่น เทศบาลมีการประชุมประชาคมสรุปการดำเนินงานหลังจากเกิดเหตุอุทกภัย เป็นต้น

References

คัมภีร์ ทองพูน, สิริลักษณ์ ทองพูน, พัตรธีรา สุวรรณวงศ์, สิริกานต์ ทองพูน, และจริยา หมัดศร. (2564). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการภัยพิบัติน้ำท่วม: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 (น. 153-169). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ณัฐพงษ์ วรเลิศ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยของเทศบาลตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เทศบาลตำบลมหาพราหมณ์. (2565). ข้อมูลสภาพทั่วไป. เทศบาลตำบลมหาพราหมณ์. https://mahaphram.go.th/public/list/data/index/menu/1144

ปาณิศา บุณยรัตกลิน. (2564). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเตรียมความพร้อมรับมืออุทกภัย : บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 14(2), 1-12. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/view/256559

แพรชมพู ประเสิรฐศรี. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำยม กรณีศึกษาตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ. (2561, 27 เมษายน). รู้จักภัยจาก อุทกภัย หรือ น้ำท่วม. https://ndwc.disaster.go.th/ndwc/cms/7525?id=26672

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2563). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2558 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563). จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. https://ww2.ayutthaya.go.th/news/detail/8503

สุธาวี กลิ่นอุบล. (2562). การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2696

สุวิมล สังวรณ์. (2561). การบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory analysis (3rd ed.). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-21