โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2

ผู้แต่ง

  • อรยา ภูสมจิตร มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอนแก่น
  • สุภัทร พันธ์พัฒนกุล มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรม, การเสริมสร้าง, ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) สร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา 113 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน และผู้บริหารและครูหัวหน้าวิชาการ 18 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นเรียงลำดับ คือ การมีความคิดสร้างสรรค์ การมีความคิดยืดหยุ่น และการสร้างวิสัยทัศน์
  2. โปรแกรมประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ 3 โมดูล วิธีการพัฒนา และการวัดและประเมินผล โดยมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
  3. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อค้นพบสำคัญคือ ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กิตติกร ธรรมกิจวัฒน์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เกรียงไกร นามทองใบ. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2565-2567. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2.

สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). การพัฒนาวิชาชีพครูสู่ยุคปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. https://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2012/7/1860_5273.pdf

อภิญญา โยธายุทธ. (2564). โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Abdul, K. (2007). Creative leadership in the global knowledge economy. University of Cambridge.

Barr, M. J., & Keating, L. A. (1990). Introduction: Elements of program development. In M. J. Barr, M. L. Upcraft, & Associates (Eds.), New futures for student affairs: Building a vision for professional leadership and practice (pp. 1-20). Jossey-Bass.

Charney, D., & Conway, J. (2005). The strategic volunteer engagement: A guide for nonprofit and public sector leaders. Volunteer Canada.

Dunham, J., & Klafehn, K. A. (1990). Transformational leadership and the nurse executive. Journal of Nursing Administration, 20(4), 28-34.

Harris, A. (2009). Creative leadership: Developing future leaders. Management in Education, 23(1), 9-11. https://doi.org/10.1177/0892020608099076

Kanaya, T., Light, D., & Culp, K. M. (2005). Factors influencing outcomes from a technology focused professional development program. Journal of Research on Technology in Education, 37(3), 313-329. https://doi.org/10.1080/15391523.2005.10782439

Knowles, M. S., Holton III, E. F., & Swanson, R. A. (2015). The adult learner: The definitive classic in adult education and human resource development (8th ed.). Routledge.

Leithwood, K., Seashore Louis, K., Anderson, S., & Wahlstrom, K. (2004). How leadership influences student learning. The Wallace Foundation.

Mumford, M. D., Marks, M. A., Connelly, M. S., Zaccaro, S. J., & Reiter-Palmon, R. (2000). Development of leadership skills: Experience and timing. The Leadership Quarterly, 11(1), 87-114. https://doi.org/10.1016/S1048-9843(99)00044-2

Puccio, G. J., Mance, M., & Murdock, M. C. (2011). Creative leadership: Skills that drive change (2nd ed.). SAGE Publications.

Robinson, K. (2011). Out of our minds: Learning to be creative. Capstone Publishing.

Sisk, D. A. (2001). Creative leadership: A study of middle managers, senior level managers and CEOs. Gifted Education International, 15(3), 281-290. https://doi.org/10.1177/026142940101500306

Sternberg, R. J. (2006). The nature of creativity. Creativity Research Journal, 18(1), 87-98. https://doi.org/10.1007/978-1-4614-6616-1_383-2

Stoll, L., & Temperley, J. (2009). Creative leadership: A challenge of our times. School Leadership & Management, 29(1), 65-78. https://doi.org/10.1080/13632430802646404

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03