วิเคราะห์การเสริมสร้างพลังทางจิตใจและปัญญาของหลักสูตรครูสมาธิแบบสมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) ของสถาบันพลังจิตตานุภาพวัดเชตวัน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างพลังทางจิตใจและปัญญา, สถาบันพลังจิตตานุภาพ, หลักสูตรครูสมาธิบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการสอน 2) ศึกษาวิธีการประยุกต์ใช้ในชีวิตประวัน 3) เพื่อวิเคราะห์การเสริมสร้างพลังทางจิตใจและปัญญา ของหลักสูตรครูสมาธิแบบสมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) ของสถาบันพลังจิตตานุภาพวัดเชตวัน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 15 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- หลักสูตรครูสมาธิจัดทำเพื่อส่งเสริมการศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรม โดยมีหลักสูตร 6 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรอาจาริยสาสมาธิ (สมาธิเข้ม) 2) หลักสูตรชินนสาสมาธิ (สมาธิชนะใจตนเอง) 3) หลักสูตรวิทันตสาสมาธิ (สมาธิเพื่อฝึกฝนตนเองที่วิเศษ) 4) หลักสูตรนิรสาสมาธิ (สมาธิตัดความกังวล) 5) หลักสูตรยุวสาสมาธิ (สมาธิสำหรับเยาวชน) 6) หลักสูตรอัตถสาสมาธิ (สมาธิเพื่อประโยชน์สูงสุด)
- การประยุกต์ใช้หลักสูตรครูสมาธิในชีวิตประจำวันยึดหลักคุณธรรม 3 ประการ ได้แก่ 1) มีจิตเมตตาต่อกัน
2) มีความรับผิดชอบสูง 3) เป็นคนมีเหตุผล ทำให้เกิดประโยชน์ 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านร่างกาย (2) ด้านจิตใจ (3) ด้านครอบครัว (4) ด้านสังคมและชุมชน (5) ด้านปัญญา - การศึกษาวิเคราะห์การเสริมสร้างพลังทางใจและปัญญาหลักสูตรครูสมาธิส่งผลต่อการปฏิบัติงานให้สำเร็จ โดยมีประโยชน์อยู่ 12 ข้อ คือ 1) หลับสบาย 2) กำจัดโรคภัย 3) เกิดสติปัญญา 4) มีความรอบคอบ 5) ระงับความร้ายกาจ
6) บรรเทาความเครียด 7) มีความสุขพิเศษ 8) ทำให้จิตใจอ่อนโยน 9) กลับใจได้ 10) เวลาจะสิ้นลมพบทางดี 11) เจริญวาสนา 12) เป็นกุศล ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากการเสริมสร้างพลังทางใจและปัญญาด้วยสมาธิทั้งนั้น
References
กาญจนา หาญศรีวรพงศ์ และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2562). สมาธิกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(1), 287-295. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/108189
เจือจันท์ วังทะพันธ์, โสวิทย์ บำรุงภักดิ์, และพระครูสุธีคัมภีรญาณ. (2563). การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิของนักศึกษาครูสมาธิ สถาบันพลังจิตตานุภาพ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(4), 1308-1321. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/236980
พระครูปลัดสุนทร สุนฺทโร (แซ่เตียว). (2554). ศึกษาปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาแบบพอง-ยุบตามแนวปฏิบัติของพระโสภณมหาเถระ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. MCU Digital Collections. http://center.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=1042
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). พุทธวิธีในการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 11). โรงพิมพ์สหธรรมิก.
พระมงคล ปิยปุตฺโต (หลวงปากดี), มานพ นักการเรียน, และภาษิต สุขวรรณดี. (2561). ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสอนสมาธิตามแนวทางสถาบันพลังจิตตานุภาพ. วารสารวิชาการสิรินธรปริทรรศน์, 19(1), 24-30. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jsrc/article/view/197780
พระวิสันต์ ปสนฺนจิตฺโต. (2564). ผลของการปฏิบัติสมาธิของผู้เรียนหลักสูตรครูสมาธิ สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขา 97 วัดศรีทีปาราม จังหวัดเลย. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 7(1), 1-11. http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jslc/article/view/1461
พระศรีปริยัติโมลี. (2547). พุทธศาสตร์ร่วมสมัย 2 (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิสิษฐ์ มะลิ, อินถา สิริวรรณ, และพีรวัฒน์ ชัยสุข. ( 2564). รูปแบบการสอนสมาธิแก่นักเรียนมัธยมศึกษาตามแนวสมาธิของพระพรหมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร). วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 8(1), 246-260. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/248495
สุภัคชญา บุญเฉลียว และสมหวัง แก้วสุฟอง. (2564). ศึกษาวิเคราะห์คุณภาพชีวิตของครูสมาธิ สถาบันพลังจิตตานุภาพ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 12(2), 141-154. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/249854
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ