วิเคราะห์หลักธรรม คุณค่าและการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในพิธีกรรมปุพพเปตพลีของวัฒนธรรมล้านนา
คำสำคัญ:
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา, คุณค่าและการเปลี่ยนแปลง, เปตพลี, วัฒนธรรมล้านนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเรื่องเปรตที่ปรากฏในทางพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาคติ ความเชื่อและขั้นตอนพิธีกรรมปุพพเปตพลีของวัฒนธรรมล้านนา 3) วิเคราะห์หลักธรรม คุณค่า และการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในพิธีกรรมปุพพเปตพลีของวัฒนธรรมล้านนา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพจากเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเก็บข้อมูลประชากรจำนวน 16 รูป/คน และวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- เปรตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเกิดจากผู้ทำอกุศลกรรม 3 ทาง คือ 1) ทางกาย 2) ทางวาจา 3) ทางใจ โดยกรรมมีอยู่ 2 ประการ ได้ กรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งกรรมทั้งด้านกุศลและอกุศลย่อมทำให้มนุษย์และสัตว์ไปเกิดในภูมิของเปรตหรือภูมิของเทวดา มโนทวารเป็นตัวการต่อการทำกรรมที่จะนำไปเกิดในสถานที่สุขหรือทุกข์
- คติ ความเชื่อและขั้นตอนพิธีปุพพเปตพลี เป็นการทำบุญอุทิศแก่ผู้ตายและแสดงความกตัญญูต่อผู้ล่วงลับ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) คณะศรัทธาประชุมเตรียมความพร้อม 2) ชาวบ้านหาผลไม้ พืชผัก เครื่องใช้ต่าง ๆ ใส่ชะลอม 3) เขียนชื่อ ลงใบลาน 4) นำถวายแด่พระสงฆ์ 5) คณะสงฆ์อุปโลกน์ 6) การอนุโมทนาบุญตามเส้นสลากแบบฉบับล้านนา
- หลักธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมปุพพเปตพลีมีอยู่ 5 ประการ ได้แก่ การกตัญญู สังคหวัตถุธรรม บุญกิริยาวัตถุ หลักสามัคคีธรรมและทาน โดยมีคุณค่าอยู่ 3 ด้าน คือ 1) ด้านจิตใจ การระลึกถึงผู้มีพระคุณ 2) ด้านสังคม เกิดความสามัคคี 3) ด้านวัฒนธรรม การรักษาจารีตประเพณีดั้งเดิม และการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในพิธีกรรมปุพพเปตพลีมีอยู่ 4 ประการ 1) การให้ทานที่มีวัตถุเครื่องใช้ปัจจุบันและเงิน 2) ประเพณีแต่ละแห่งแตกต่างกันไปตามบริบทสังคมนั้น ๆ 3) การรวมกลุ่มผู้ทำบุญขึ้นอยู่กับหน้าที่การงาน องค์กร 4) มีการละเล่นเข้มเพิ่ม เพื่อให้กระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น
References
ไทยรัฐออนไลน์. (2564, 21 กันยายน). ประเพณี 12 เป็ง ฮาโลวีนล้านนา ชาวบ้านร่วมทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ. https://www.thairath.co.th/news/local/north/2199000
พระครูปลัดวัลลภ วชิรวํโส. (2565). คติความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาที่ปรากฎในประเพณีการทำบุญอุทิศ ในกลุ่มชาติพันธุ์ไทยอีสาน. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 78-96. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jmb/article/view/258483
พระใบฎีกาทวีศักดิ์ ชินวํโส (กล้าคง). (2563). วิเคราะห์คุณค่าทางพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในความเชื่อเรื่องเปรตที่มีผลต่อสังคมไทยปัจจุบัน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(2), 16-34. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/241030
พระประพันธ์ ชาตเมโธ (สีผึ้ง), ศิริโรจน์ นามเสนา, และพระศรีสมโพธิ (วรัญญู วรญฺญู). (2565). ศึกษาวิเคราะห์เปรตในสังคมไทย. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(4), 13-24. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/251135
พระมหาจักรกฤษณ์ ฐิตสุธี (เขาสมบูรณ์), ภูนท สลัดทุกข์, และพระราชรัตนเวที. (2566). งานประเพณีบุญสลากภัตกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของชาวตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 15-28. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/258889
พระมหามนตรี ฉนฺทสีโล, พระมหาปริญญา วรญาโณ และสมเดช นามเกตุ. (2563). วิเคราะห์หลักธรรมในประเพณีการทำบุญอุทิศของชาวพุทธ ในเขตเทศบาลตำบลหาดคำ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 3(1), 1-7. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tmd/article/view/250164
พระมหาวัฒน์ วฑฺฒนสุธี (อุปคำ). (2545). คำสอนเรื่องคุณธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในภาษิตล้านนา [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. MCU Digital Collections. https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/2867
มณี พะยอมยงค์. (2533). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. ส.เจริญทรัพย์การพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อรศิริ คำวันสา, พระเทพวัชราจารย์ (เทียบ สิริญาโณ), และวุฒินันท์ กันทะเตียน. (2565). การสร้างกระบวนการทำบุญตามหลักพระพุทธศาสนาในสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 11(4), 357-372. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/261987
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ