ความผูกพันองค์การของข้าราชการธุรการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4
คำสำคัญ:
ความผูกพันองค์การ, ข้าราชการธุรการบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันองค์การของข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการธุรการในเขตท้องที่สำนักงานอัยการภาค 4 จำนวน 223 คน โดยใช้สูตรของยามาเน่ (Yamane) ความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาพรวมทั้งฉบับเท่ากับ .951 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับความผูกพันองค์การของข้าราชการธุรการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านความเต็มใจ ทุ่มเท ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ขององค์การ
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression) ปัจจัยภายนอก หมายถึง การติดต่อสัมพันธ์ ความรักในงานความสำเร็จในงาน การเป็นที่ยอมรับ พบว่าปัจจัยภายนอก ด้านการติดต่อสัมพันธ์ ด้านความรักในงาน ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านความสำเร็จในงาน ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กัญญา บุดดาจันทร์. (2563). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดโรงพยาบาลนครพนม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. SNRUE-THESIS. https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/thesis_detail?r=61426423123
ชนธิชา ทองมา. (2560). อิทธิพลของความผูกพันในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(1), 57-76.
ณดนย์ พุดด้วงเงิน, ละมัย ร่มเย็น, และสัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง. (2565). การสนับสนุนจากองค์การและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(2), 35-52. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/174
ณัฐปภัสร์ ตั้งพานทอง. (2560). ปัจจัยความผูกพันในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันขององค์การ กรณีศึกษาเภสัชกรอัตราจ้างแผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2904
บัญญัติ คำนูณวัฒน์. (2555, 28 กุมภาพันธ์). เล่าสู่กันฟัง: การบริหารประสบการณ์ลูกค้าอีกขั้นสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน. คมชัดลึก. https://www.komchadluek.net/news/124151
พระมหารัฐพงษ์ พรมหากุล. (2563). อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษากลุ่มที่ 8 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. SNRU E-THESIS. https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/thesis_detail?r=62426423111
พลอยไพลิน สุขอภัย. (2558). การศึกษาปัจจัยแรงจูงใจและสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ธนาคารพาณิชย์ไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1914
วนัชพร เล่าฮะ และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 8(2), 229-239. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/KRUjournal/article/view/191100
วุฒิพงษ์ พร้อมสุข. (2561). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การ คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรขอนแก่น กลุ่มเลย 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. SNRU E-THESIS. https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/thesis_detail?r=59426423102
ศุภจิรา จันทร์อารักษ์. (2551). ความคิดเห็นของข้าราชการที่มีต่อแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานใน เทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สาวิณี ภูรีปติพัตร์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑติ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. DSpace at Srinakharinwirot University. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1193
อวัชพงษ์ มีคุณ และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2562). ความผูกพันในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จากัด (มหาชน). วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 12(3), 856-871. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/162026
Opener. (2003). Happiness at work. http://www.iopener.co.uk/happinessatWork
Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ