การพัฒนาการออกแบบและเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญางานพุทธศิลป์ จังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
การออกแบบ, งานพุทธศิลป์, ภูมิปัญญาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กระบวนการสร้างองค์ความรู้การสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์จังหวัดแพร่ 2) ศึกษากระบวนการออกแบบงานพุทธศิลป์จังหวัดแพร่ 3) พัฒนาการออกแบบและเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญางานพุทธศิลป์จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบของการวิจัยและพัฒนาร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งสิ้น 25 คน โดยการลงพื้นที่สำรวจงานด้านพุทธศิลป์ในแต่ละพื้นที่ของจังหวัดแพร่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดเสวนากลุ่มย่อย เพื่อหาข้อมูลที่จะนำมาทำการวิเคราะห์หาองค์ความรู้ และกระบวนการออกแบบงานพุทธศิลป์
ผลการวิจัยพบว่า
- กระบวนการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับงานพุทธศิลป์ พบว่า นับตั้งแต่มีการตั้งเมืองเชียงใหม่ โดยมีพระยามังรายหรือเม็งราย เป็นปฐมกษัตริย์ที่รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำกกและแม่น้ำปิง ส่งผลให้งานพุทธศิลป์จังหวัดแพร่ มีความหลากหลายและคล้ายคลึงกับอาณาจักรหริภุญชัย-เชียงแสน และอาณาจักรสุโขทัย
- กระบวนการออกแบบงานพุทธศิลป์จังหวัดแพร่ เช่น ธรรมาสน์ บุษบก ตุงกระด้าง และพระพุทธรูปไม้แกะสลักพบว่า ธรรมาสน์ จะมีลักษณะทำจากไม้สัก โดยผ่านงานฝีมือจากช่างที่มีความชำนาญหรือที่เรียกว่า สล่า ที่ได้สั่งสมประสบการณ์ ผ่านการเรียนรู้ การลองผิดลองถูก จนเกิดงานพุทธศิลป์จังหวัดแพร่ ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว และสามารถนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาการออกแบบและเพิ่มมูลค่า
- ปัจจุบันการออกแบบงานพุทธศิลป์ เช่น ธรรมาสน์ บุษบก ตุงกระด้าง และพระพุทธรูปไม้แกะสลัก ถูกสร้างขึ้นมาให้มีความหลากหลายด้วยปัจจัยหลาย ๆ ด้าน ผนวกความเจริญทางเทคโนโลยีและความต้องการของผู้บริโภคที่เป็นตัวแปรสำคัญทำให้งานพุทธศิลป์จังหวัดแพร่มีความหลากหลายมากขึ้น
References
โกสุม สายใจ. (2560). พุทธศิลป์กับการจัดการความรู้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(1), 1-10. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112524
จาตุรันต์ จริยารัตนกูล, ณัฐวุฒิ ขันโพธิ์น้อย, และประดิพัทธ์ วิรามร. (2563) การศึกษาอัตลักษณ์ของลวดลายประดับธรรมาสน์ กรณีวัดพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์. Journal of Modern Learning Development, 5(6), 275-285. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/245979
พระครูภัทรจิตตาภรณ์, พระมหาสุพร รกฺขิตธมฺโม, และพระยุทธนา อธิจิตโต. (2563). รูปแบบการส่งเสริมการอนุรักษ์พุทธศิลป์ของอุโบสถในจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(2), 135-148. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mcjou/article/view/241153
พระปลัดพงศ์ศิริ พุทฺธิวํโส, พิงพร ศรีแก้ว, และประพินท์ สังขา. (2563). ชื่อปีนักษัตรที่ปรากฏในตุงล้านนา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(1), 78-94. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/245154
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 27). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ และคณะ. (2563). การอนุรักษ์ภูมิปัญญาการสร้างพระพุทธไม้แกะสลักล้านนาในสังคมร่วมสมัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.
พูนชัย ปันธิยะ. (2559). พุทธศิลป์ล้านนา แนวคิด คุณค่า เพื่อเสริมสร้างจริยธรรมทาง สังคม: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน. DSpace at Mahachulalongkornrajavidyalaya University. http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/733
สหัทยา วิเศษ, พระครูโสภณปริยัติสุธี, พระครูพิศาลสรกิจ, พิสมัย วงศ์จาปา, และชูชาติ สุทธะ. (2563). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดล้านนา. DSpace at Mahachulalongkornrajavidyalaya University. http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/639
สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดุลย์ หลานวงค์, พระภาณุวัฒน์ จนฺทวฑฺฒโน, และพระมหาภิรัฐกรณ์ อํสุมาลี. (2560). พุทธศิลป์: ประวัติ พัฒนาการ และอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. DSpace at Mahachulalongkornrajavidyalaya University. http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/504
อานุภาพ จันทรัมพร. (2566). สัดส่วนความงามในศิลปกรรมไทยทรงบุษบก. วารสารวิชาการ DEC JOURNAL คณะมัณทนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2(3), 116-139. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/decorativeartsJournal/article/view/3277
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มมร ล้านนาวิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ