เพลงโฟล์คซองคำเมือง ของสุนทรี เวชานนท์

Main Article Content

ตติยา สายบัวพัตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาการใช้ภาษา และภาพสะท้อนสังคมที่ปรากฏในเพลงโฟล์คซองคำเมืองของสุนทรี เวชานนท์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การอ่านวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาของเพลงเกี่ยวกับความรัก นิทานพื้นบ้าน วัฒนธรรมประเพณีของชาวล้านนาข้อเตือนใจ และธรรมชาติ การใช้ภาษา พบว่าเพลงของสุนทรี เวชานนท์ ส่วนใหญ่จะใช้ทั้งภาษาล้านนา (คำเมือง) บางเพลงใช้คำเมืองปนภาษาไทยกลาง คำเมืองปนภาษาต่างประเทศมีบ้างประปราย มีการใช้คำซํ้า คำซ้อน คำที่มีความหมายโดยตรง และคำที่มีความหมายโดยนัยส่วนภาพสะท้อนสังคม พบว่าในเนื้อเพลงจะสะท้อนถึงสังคมล้านนา เช่น อุปนิสัยคนล้านนา การเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรมด้านอาหารและอาชีพ ฯลฯ

 

Lanna Folksongs by Suntaree Weachanon

The research aims to study about the content, language usage and social image reflection which were appeared in Kam Muang (Northern Dialect) folk songs of Suntaree Wechanon. The research instrument for collecting data is the content analysis.

The research has shown that the song contenst are about love, folkstory, Lanna culture, proverbs and nature. There are local, common, local-common, and some local-foreign languages, as well as using the word overlap in her songs. Meaning of direct word and figurative meaning. For the reflections on social, their song contents reflect Lanna society as well, the character of Lanna people, social changes, and the culture of cuisine and career

Article Details

บท
บทความวิจัย