การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
- บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
- ไฟล์ต้นฉบับต้องอยู่ในรูปแบบไฟล์เวิร์ด
- วารสารใช้ระบบผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-blind Peer Review)
- ใช้ตัวหนังสือขนาด 14 พอยต์ จัดระยะห่างระหว่างบรรทัดแบบบรรทัดเดียว ใช้ตัวอักษรตัวเอียงแทนการขีดเส้นใต้ จัดรูปภาพและตารางในตำแหน่งที่เหมาะสม
- จัดบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนด โดยดูตัวอย่างได้ในหน้าเว็บไซต์
- กรุณาเขียนชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่และสังกัดของท่าน ในหัวข้อ "ข้อความถึงบรรณาธิการ"
คำแนะนำผู้แต่ง
การเตรียมต้นฉบับ
- ต้นฉบับภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษองค์ประกอบต่าง ๆ ของบทความวิจัยหรือบทความวิชาการให้ทำตามคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับนี้ บทความส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษ ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษาก่อน
- การพิมพ์ ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word โดยจัดหน้ากระดาษ ขนาด A4 (8.5 x 11 นิ้ว) ตั้งค่าหน้ากระดาษสำหรับการพิมพ์ห่างจากขอบบนกระดาษ 1 นิ้ว (2.5 นิ้ว เฉพาะหน้าแรก) ขอบล่าง 0.8 นิ้ว ขอบซ้าย 1.25 นิ้ว ขอบขวา 0.8 นิ้ว จัดสองคอลัมน์ (ยกเว้นบทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ และเอกสารอ้างอิงให้จัดหนึ่งคอลัมน์) ความกว้างคอลัมน์ 2.98 นิ้ว ระยะห่างระหว่างคอลัมน์ 0.25 นิ้ว ใส่หมายเลขหน้ากำกับอยู่ด้านบนขวาทุกหน้า
- รูปแบบตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS ขนาดตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ขนาดเดียวกัน ดังนี้ ชื่อเรื่องใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวหนา ชื่อผู้นิพนธ์บทความใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ ชื่อหน่วยงานที่สังกัดและตำแหน่งทางวิชาการของผู้นิพนธ์บทความ (ถ้ามี) ใช้ตัวอักษรขนาด 12 pt. หัวข้อหลักใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวหนา หัวข้อรองใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวหนา เนื้อหาทุกส่วนใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ
- จำนวนหน้า ไม่ควรเกิน 15 หน้า รวมตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง
- ตาราง รูปภาพ ภาพลายเส้น แผนภูมิ และกราฟ หากมีขนาดเล็กให้แทรกไว้ในเนื้อหาที่จัดเป็น
2 คอลัมน์ หากมีขนาดใหญ่ให้จัดเป็น 1 คอลัมน์ โดยให้ผู้นิพนธ์บทความคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น เรียงลำดับให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ชื่อตารางให้อยู่ด้านบนของตาราง ส่วนชื่อรูปภาพแผนภูมิ และกราฟให้อยู่ด้านล่าง พร้อมทั้งคำอธิบายสั้น ๆ ที่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วน - การส่งต้นฉบับ
ส่งต้นฉบับบทความในรูปแบบไฟล์เวิร์ด (Microsoft word) ผ่านระบบจัดการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (ThaiJo) ที่ Website: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan
พร้อมทั้งส่งแบบนำส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ หนังสือรับรองก่อนการตีพิมพ์ตามที่วารสารกำหนดและหลักฐานการโอนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ทางอีเมล์ phikanatesan@gmail.com
ประเภทของบทความ
- บทความวิจัย (Research article) เป็นบทความที่เขียนขึ้นจากงานศึกษาเชิงประจักษ์ (Empirical study) หรือที่เรียกว่า งานวิจัย สาระของบทความสะท้อนให้เห็นขั้นตอนการดำเนินการศึกษา การนำเสนอผลการวิจัย
อาจเป็นผลงานวิจัยบางส่วนหรือผลงานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว - บทความวิชาการ (Academic article) เป็นบทความที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร งานแปล และผลงานจากประสบการณ์ของผู้เขียนหรือถ่ายทอดจากผู้อื่นมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้
องค์ความรู้ การเสนอความคิดเห็นที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ทางวิชาการของสาขาต่าง ๆ
ส่วนประกอบของบทความ
- ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้น กระชับ และตรงกับเนื้อเรื่อง ให้ขึ้นต้นชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยภาษาอังกฤษ โดยภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
- ชื่อผู้นิพนธ์บทความ (Authors and co-authors) ใช้ชื่อและนามสกุลเต็มทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อตัวและนามสกุล ไม่ระบุคำนำหน้าและตำแหน่งทางวิชาการ โดยจัดกึ่งกลางหน้ากระดาษต่อจาก ชื่อเรื่อง หากเป็นนักศึกษาให้ใส่ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เป็นผู้นิพนธ์ร่วม ถ้ามีผู้นิพนธ์หลายคนให้ใช้หมายเลข 1 หรือ 2 กำกับไว้ท้ายชื่อตามจำนวนผู้นิพนธ์
- สังกัดผู้นิพนธ์บทความ (Affiliation) ใส่ชื่อหน่วยงานที่สังกัดทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเรียงลำดับตั้งแต่หน่วยงานระดับต้นไปจนถึงหน่วยงานหลักต่อจากชื่อผู้นิพนธ์บทความ และใส่สถานะของผู้นิพนธ์โดยระบุตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) ที่เชิงอรรถของหน้าแรก กรณีเป็นนักศึกษาให้ระบุระดับการศึกษาชื่อหลักสูตร สาขาวิชา และสถาบันการศึกษา
- บทคัดย่อ (Abstract) บทคัดย่อภาษาไทย ความยาวไม่เกิน 500 คำ และภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ จัดเป็น 1 คอลัมน์ โดยให้ลำดับบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนตามด้วยบทคัดย่อภาษาอังกฤษ
- คำสำคัญ (Keywords) ให้เขียนทั้งคำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ละชุดไม่เกิน 5 คำ โดยให้ระบุไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา
- เนื้อหาในบทความ (Main texts)
- บทความวิจัย (Research article) ประกอบด้วย
- บทนำ (Introduction) นำเสนอภูมิหลังความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยรวมทั้งเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเหตุผลของการทำวิจัย
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives) นำเสนอจุดมุ่งหมายที่ต้องการศึกษา ค้นคว้าแสวงหาคำตอบในการวิจัย
- สมมุติฐานการวิจัย (Hypothesis) (ถ้ามี) เป็นการนำเสนอคำตอบที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าอย่างสมเหตุสมผลต่อปัญหาที่ศึกษา ระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา
- วิธีดำเนินการวิจัย (Research methodology) นำเสนอแบบแผนการวิจัย เช่น การสำรวจ ศึกษาเอกสาร การทดลอง เป็นต้น
- ประชากร (Population) นำเสนอคุณลักษณะและจำนวนให้ครอบคลุมตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด
- กลุ่มตัวอย่าง (Sample) นำเสนอหลักเกณฑ์การกำหนด จำนวนตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง
- เครื่องมือการวิจัย (Research instrument) นำเสนอชนิดของเครื่องมือ วิธีการสร้าง การทดลองใช้ (Try out) และการปรับปรุงเครื่องมือการวิจัย
- การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection) นำเสนอวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และระยะเวลาการรวบรวมข้อมูล
- การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) นำเสนอวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
- ผลการวิจัย (Results) นำเสนอรายงานผลการวิจัยจากการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ในการวิจัยอย่างชัดเจนและตรงประเด็น โดยยึดแนวทางตามวัตถุประสงค์การวิจัย ควรอธิบายผลการวิจัยด้วยคำบรรยายเป็นหลัก ถ้ามีตัวแปรที่ศึกษาหรือตัวเลขมากให้นำเสนอเป็นรูปภาพ ตาราง แผนภูมิ และกราฟ แทรกในเนื้อหาพร้อมอธิบายผลการวิจัยให้ได้สาระครบถ้วนอย่างสั้น ๆ กระชับ
- สรุปผลการวิจัย (Conclusion) เป็นการสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญที่เกิดจากการทำวิจัย
- การอภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เป็นการนำเสนอความเห็นว่าผลการวิจัยสอดคล้องหรือแตกต่างจากวัตถุประสงค์ สมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้อย่างไร เป็นเพราะเหตุผลใด มีหลักฐานทางทฤษฎีหรือผลงานวิจัยอะไรที่มาสนับสนุน
- ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัย ไปใช้ (Suggestion) นำเสนอให้เห็นว่าสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ตลอดจนข้อเสนอแนะให้ผู้ที่จะทำวิจัยครั้งต่อไปในลักษณะเดียวกันทราบว่าควรจะศึกษาในประเด็นปัญหาหรือตัวแปรอะไรจึงจะทำให้ได้ผลการวิจัยหรือข้อสรุปที่สมบูรณ์
- บทความวิชาการ (Academic article) : ประกอบด้วย
- บทนำ (Introduction) กล่าวถึงความน่าสนใจของเรื่องที่นำเสนอ ก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่อง
- เนื้อเรื่อง (Body) นำเสนอให้เห็นถึงปรากฏการณ์หรือองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นในวงวิชาการ ที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของเหตุที่นำไปสู่ผล (Causal relationship) การอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ และเหตุผลที่พิสูจน์ได้ทางวิชาการ ซึ่งได้จากการศึกษาค้นคว้าและจากประสบการณ์ของผู้นิพนธ์บทความ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้อ่าน
- สรุป (Conclusion) สรุปประเด็นสำคัญ ๆ จากเนื้อเรื่องให้สั้น กระชับได้เนื้อหาสาระครบถ้วนของบทความ บอกผลลัพธ์ว่าสิ่งที่กล่าวมามีความสำคัญอย่างไร สามารถนำไปใช้อะไรได้บ้าง หรือจะทำให้เกิดอะไรต่อไป
- เอกสารอ้างอิง (Reference) ให้ระบุเฉพาะเอกสารที่ผู้นิพนธ์บทความได้นำมาอ้างอิงในบทความอย่างครบถ้วน
รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อความและเอกสารอ้างอิง
ใช้การอ้างอิงระบบ APA6th (American Psychological Association Citation Style) โดยแยกเป็น
การอ้างอิงในเนื้อความ (In-text Citations)
การอ้างอิงในเนื้อความเป็นการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อความ ให้ใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี (Author-Date in Text Citation) โดยระบุชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ต่อท้ายข้อความที่ต้องการอ้างอิง เช่น (สนิท สัตโยภาส, 2556) แต่ถ้าชื่อผู้แต่งที่อ้างถึงเป็นส่วนหนึ่งของบทความให้วงเล็บเฉพาะปีที่พิมพ์ต่อจากชื่อผู้เขียน เช่น สนิท สัตโยภาส (2556) รูปแบบการอ้างอิง มีดังนี้
- การอ้างอิงบุคคล คนไทยให้ลงชื่อตัวและนามสกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้ลงเฉพาะชื่อสกุล
ตัวอย่างการอ้างอิง
ผู้แต่ง 1 คน
(สมเจตน์ ภูศรี, 2550, น. 6) (Smith, 2014, p. 19)
ผู้แต่ง 2 คน
(สุชา จันทน์เอม และสุรางค์ จันทน์เอม, 2545)
(Chanaim & Chanaim, 2015, pp. 33-35)
ผู้แต่ง 3 – 5 คน
(ศิริพร พรสิรินทิพย์, ประพันธ์ ธรรมไชย และหนูม้วน ร่มแก้ว, 2558)
(Peterson, Smith, & Clare, 2015)
หากเป็นการอ้างผลงานเดิมในครั้งที่สอง ให้ใช้ชื่อสกุลของผู้แต่งคนแรก และคำว่า “และคนอื่น ๆ” หรือ “et al.” แล้วตามด้วยปีที่พิมพ์
(ศิริพร พรสิรินทิพย์ และคนอื่น ๆ, 2558)
(Peterson et al., 2015)
ผู้แต่ง 6 คน ขึ้นไป
(สุจริต เพียรชอบ และคนอื่น ๆ, 2548)
(Pianchoop et al., 2005)
การอ้างอิงผลงานหลายชิ้น ให้เรียงตามตัวอักษรของชื่อสกุลผู้แต่ง คั่นระหว่างด้วยเครื่องหมาย ;
(Johnson, 2015; Ortega, 2014; Peterson, 2010)
- การอ้างอิงนิติบุคคล หน่วยงาน องค์กร ที่ทำเอกสารให้ระบุชื่อหน่วยงานตามที่ปรากฏ
ตัวอย่างการอ้างอิง
(มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2557)
(Chiang mai Rajabhat University, 2015)
เอกสารอ้างอิง (References)
เป็นการอ้างอิงส่วนท้ายบทความ โดยรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้นิพนธ์บทความได้ใช้อ้างอิงในเนื้อความ พร้อมจัดเรียงรายการเอกสารตามลำดับอักษรของผู้แต่ง ดังนี้
หนังสือ
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง
ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2557). ตามรอยพระราชดำริ สู่ความสำเร็จ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Mitchell, T. R. & Larson, J. R., Jr. (1987). People in organizations: An introduction to organizational
behavior. New York: McGraw-Hill.
วารสารและนิตยสาร
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า.
ตัวอย่าง
เบญจพร ธิหลวง. (2558). พฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่.
วารสารพิฆเนศวร์สาร, 6(1), 1-12.
Akira, A. & Yong, J. (2016). Determinants of Word-of-Mouth Influence in Sport Viewership. Journal
of Sport Management, 30(2), 192-206.
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่สารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต). ชื่อเรื่อง/ชื่อบทความ. สืบค้นจาก https://www …………
ตัวอย่าง
ธนวรรธน์ พลวิชัย. (2559, 30 เมษายน). Aec go on. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/613039
Wollman, N. (1999). Influencing attitudes and behaviors for social change. Retrieved from
https://www.radpsynet.org/docs/wollman-attitude.html
รายงานการประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการ
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง ใน ชื่อเอกสารรวมเรื่องรายงานการประชุม, วัน เดือน ปี สถานที่จัด. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
ตัวอย่าง
กรมวิชาการ. (2538). การประชุมปฏิบัติการรณรงค์เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน, 25-29 พฤศจิกายน 2528 ณ วิทยาลัยครู
มหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
บริพัตร นิลเพชร์. (2554). แนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. ใน เอกสารประกอบ
การสัมมนาทางวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา, 9-14 กุมภาพันธ์ 2554 (น. 40-41). เชียงใหม่:
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Pinsuwan, S., & Keawnopparat, S. (2006). Experimental and computational studies of epithelial
transport of mefenamic acid ester prodrugs. In The Thailand Research Fund (Ed.), RGJ-Ph.D.
Congress VII, April 20-22, 2006 Jomtien Palm Beach Resort Pattaya Chon Buri (p. 88). Thailand:
The Thailand Research Fund.
วิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระ
ชื่อผู้นิพนธ์. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. (ระดับปริญญาของวิทยานิพนธ์, สถาบันการศึกษา).
ตัวอย่าง
ยุทธศักดิ์ ยารังสี. (2557). เครือข่ายการค้าปศุสัตว์ไทย-ลาว. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,
สาขาวิชาภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและสาละวินศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).
Gjoligaj, V. (2014). Developing a sports club management competency model for Albania: A Delphi study.
(Doctoral dissertation, School of Business and Technology Capella University USA).
Download
คำแนะนำการส่งบทความพิฆเนศวร์สาร
หนังสือรับรองก่อนตีพิมพ์พิฆเนศวร์สาร
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว