การปรับเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่เพื่อการดำรงอยู่ของซอท่ามกลางบริบทของสังคม ที่เปลี่ยนแปลง : กรณีศึกษาคณะซออำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พัชรินทร์ คณะนัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่เพื่อการดำรงอยู่ของซอท่ามกลางบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลง กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าคณะซอ 4 คณะ ตัวแทนผู้มาฟังซอ และตัวแทนผู้ว่าจ้าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งเครื่องบันทึกภาพ และเสียง ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์จัดหมวดหมู่ และนำเสนอโดยการบรรยายและสรุปเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ซอยังดำรงอยู่เพราะช่างซอปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ของสังคมปัจจุบันรู้จักปรับปรุงบทซอให้สอดคล้องกับอารมณ์ของผู้ฟังซอและเหมาะสมกับสถานการณ์บ้านเมือง สิ่งสำคัญที่ทำให้ซอยังคงดำรงอยู่และเป็นที่นิยมของผู้ชมหรือผู้ฟังนั้นช่างซอปรับเปลี่ยนภาษาให้ฟังง่ายขึ้น รวมทั้งมีปฏิภาณไหวพริบในการโต้ตอบกัน มีการยกตัวอย่างประกอบที่เหมาะสมกับสมัยสามารถใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสมและไพเราะ รวมถึงการปรับเปลี่ยนในด้านเนื้อหาสาระตามความต้องการของสังคม แต่ต้องไม่ทิ้งรูปแบบและเนื้อหาที่เป็นอัตลักษณ์เดิมของบทซอไว้ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงอยู่ของอาชีพช่างซอในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ อันดับแรก คือฝ่ายสนับสนุนด้านกำลังใจให้กับคณะซอ ซึ่งได้แก่ ผู้ว่าจ้าง อันดับที่สองคือ กลุ่มผู้ฟัง อันประกอบด้วยบุคคล กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป ปัจจัยต่อมาคือ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพช่างซอเองที่มีการปรับเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่เพื่อให้ซอดำรงอยู่และปัจจัยสุดท้าย คือ หน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษาที่ให้ความสำคัญโดยให้เกียรติแก่ผู้ประกอบอาชีพช่างซอด้วยวิธีต่าง ๆ

 

Role Changing and Existence of “Saw” Among Dynamic Social Context : A Case Study of “Saw” Bands in Mae Rim District, Chiang Mai Province

The objective of this research is to study the changing roles and responsibilities of Saw bands in Mae Rim District, Chiang Mai among dynamic social context. Sample group is head of 4 Saw groups, listeners and hirers. The tools used to collect data are interviewing questionnaires, participant observation form, visual and sound recording. All the data were classified and presented by analyzed descriptive. The research conclusions are as follow: The existence of Saw depends on the Saw players who need to adapt themselves to present situation. Their songs have to be in harmonious with listeners’ emotion and social events. To conserve the Saw songs, Saw players have to make the languages in the lyric easier to understand, improve the responding tactics, use appropriate and modern languages when giving examples. Moreover, they need to change the Saw song to agree with social context while conserve the unique contents of the traditional one.

The factors effect the existence of Fiddle players in Mae Rim district, Chiang Mai are 1) the hirers who be emotional encouragements to the Saw groups, 2) the listeners which consist of teenagers, middle – aged and 51 year – old up people who are deeply impress with the songs. 3) the Saw players Who change their roles and responsibilities to support their existence. Moreover, the government, private and educational sectors also give precedence to fiddle players in various ways.

Article Details

บท
บทความวิจัย