การปนภาษาอังกฤษในนิตยสารภาษาไทย

Main Article Content

พรรณทิวา อินต๊ะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการปนภาษาอังกฤษในนิตยสารภาษาไทยและทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการปนภาษาอังกฤษในภาษาไทย ผู้วิจัยได้เลือกศึกษานิตยสารแบบเจาะจงทั้งหมด 4 ชื่อ คือ นิตยสาร Oops! นิตยสารดิฉัน นิตยสารมติชน และนิตยสารคูส่ รา้ งคูส่ ม ในชว่ งเวลา เดือนมกราคมถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ.2554 โดยสุ่มตัวอย่าง 1 เดือนต่อ 4 เล่ม รวมทั้งสิ้น 6 เดือนใช้นิตยสารทั้งหมด 24 เล่ม โดยแบ่งเป็นนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ 6 เล่ม นิตยสารคู่สร้างคู่สม 6 เล่ม หนังสือนิตยสาร Oops! 6 เล่ม และนิตยสารดิฉัน 6 เล่ม เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ในแต่ละประเภท การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาอังกฤษปนในภาษาไทยและตีความข้อมูล ส่วนสถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ผู้วิจัยได้สรุปผลการศึกษา พร้อมเสนอผลรายงานการศึกษาวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ และใช้แบบสอบถามทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้ภาษาอังกฤษปนในภาษาไทยกลุ่มตัวอย่างของประชากรในครั้งนี้ประกอบด้วยตัวแทน 2 กลุ่ม คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทพบดินทร์วิทยาเชียงใหม่ จำนวน 112 คนและครูที่สอนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเทพบดินทร์วิทยาเชียงใหม่ จำนวน 36 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ด้วยการเลือกบุคคลที่ชอบอ่านนิตยสารไทยโดยใช้อัตราส่วน 5:1 ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู 7 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน 23 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 30 คน โดยสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีคำถามซึ่งกำหนดคำตอบไว้ล่วงหน้าให้เลือกตอบ และคำถามแบบเติมความ และวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากแบบสอบถาม ด้วยวิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ อธิบายโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสรุปผล อภิปรายผล

 

The Mixing of English in Thai Magazines

The purpose of this research is to investigate the use of English language in Thai magazines and the attitude of a test/focus group to the use of English in Thai magazines. The researcher chose magazines between January 2011 – June 2011. The following 4 Thai magazines were chosen for this research: 1. Oops! 2. DiChan 3. Matichon and 4. Kuu Saang Kuu Som. In total, there were 24 magazines that were used for the research. In order to get more realistic findings of a cross section of magazines, the titles we chose came from a range of styles. Our test group were 30 students and teachers from Tepbadin Wittaya High School Chiang Mai. The test group were chosen through purposive sampling. The data recorded was used to work out the average and median attitudes of the respondents. Results and Findings There were 8 character types of english used in Thai magazines. It was observed the most common uses was with using English and the use of transliterated English, and the second most common was using English combined with Thai. The least used was the repetition of English. It was observed that the use of English in Thai magazines occurred in Oops! Magazine the most frequently, while Kuu Saang Kuu Som use English the least. When we compare attitudes of the test group to the use of English in Thai magazines, it was found that overall, there was a positive attitude to the use of English in Thai magazines.

Article Details

บท
บทความวิจัย