การศึกษาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาและความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูผู้สอน กลุ่มเครือข่ายไตรมิตร อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

สุพัฒน์ ชัยเสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ คือ เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนกลุ่มครือข่ายไตรมิตร อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของครูผู้สอนกลุ่มเครือข่ายไตรมิตรอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนในกลุ่มเครือข่ายไตรมิตร อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อบทบาทด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้และด้านการจัดการเรียนรู้ ของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในภาพรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับ A3 นั่นคือ ผู้บริหารมีความตระหนักรู้และได้ลงมือดำเนินการจนเกิดผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ สำหรับด้านการจัดทำสื่อนวัตกรรมและ ด้านการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ภาพรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับ A2 นั่นคือ ผู้บริหารมีความตระหนักรู้และได้ลงมือดำเนินการแล้วแต่ยังไม่เกิดผลเป็นที่ประจักษ์ ความต้องการเกี่ยวกับพัฒนาตนเองตามมาตรฐานด้านความรู้ครูผู้สอนโดยภาพรวมมีความต้องการอยู่ในระดับมากและครูผู้สอนได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับระดับความต้องการด้านประสบการณ์วิชาชีพครู โดยเน้นพัฒนาหลักสูตร สื่อการสอน การใช้สื่อเทคโนโลยีในการเรียนการสอน คุณธรรมจริยธรรมของครูให้เป็นแม่พิมพ์ที่ดีของลูกศิษย์ การจัดวิจัยในชั้นเรียนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

 

A Study of the School Administrator’s Roles and the Teachers’ Needs to Develop the Knowledge of Trimt Teacher Group in Meung District, Mae Hong Sorn Province

The purposes of this study were to study the school administrator’s roles to support the Trimit Teacher Group to use the student centered technique to teach the students, the teachers’ needs to develop their knowledge of teaching, and the ways to support the teachers to use the student centered technique to teach the students.

The study found that the teachers’ opinion towards the school administrator’s roles to plan learning activities and support the teachers to use the student centred technique to teach the students in the classroom was at the A3 level. The school administrator had awareness and supported the teachers to use the student centre technique to teach the students and the result was successful. Making media, innovation, assessment and evaluation of learning was at the A2 level. The school administrator had awareness and encouraged the teachers to use the student centre technique as a tool for teaching, but the result wasn’t successful. The teachers’ needs to develop their knowledge following the standard of teachers’ knowledge was totally at a high level.

The teachers’ opinion towards the needs of experience of professional teaching that focused on curriculum, teaching media, technology for teaching, teachers’ morality,how to be a good model for the students, and classroom research was continually developed.

Article Details

บท
บทความวิจัย