การศึกษาวิเคราะห์ค่านิยมในสำนวนไทย

Main Article Content

Min Mei
ปฏิพันธ์ อุทยานุกู
ยุพิน จันทร์เรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดประเภทสำนวนที่สอดคล้องกับค่านิยม เพื่อศึกษาวิเคราะห์ค่านิยมในสำนวนไทย และเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เป็นหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง ค่านิยมในสำนวนไทย ฉบับแปลภาษาจีน ให้แก่นักศึกษาชาวจีนที่เรียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย แหล่งข้อมูล ได้แก่ สำนวนไทย จำนวน 660 สำนวน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ตารางการวิเคราะห์เกณฑ์ค่านิยมที่กำหนด 30 ประการ และแบบประเมินคุณภาพหนังสือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. สำนวนไทย จำนวน 660 สำนวนที่นำมาศึกษาพบว่า มีค่านิยมที่ปรากฏในสำนวนไทยดังกล่าว 25 ประการ คือ การมีระเบียบวินัยและเคารพผู้ใหญ่ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความกตัญญู การนิยมความดี ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ และความอดทน การให้อภัย การพึ่งตนเอง การขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบ การยกย่องผู้มีความรู้ ความมัธยัสถ์ การประหยัดและการออม การประนีประนอม การรักษาวัฒนธรรม การมีสติและรู้คิด ความเข้มแข็ง การคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม ความเชื่อในเรื่องผลกรรมบาปบุญ การใช้ชีวิตเรียบง่าย การรักญาติ
    พี่น้อง การพูดที่ให้คุณและโทษ การชอบความเป็นอิสระ การรักเกียรติยศและชอบความมีหน้ามีตา การยกย่องอำนาจ การนิยมวัตถุสิ่งของ การรักความสบาย การสอดรู้สอดเห็น การเห็นแก่ตัว และไม่ปรากฏค่านิยม 5 ประการ ได้แก่ ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การเป็นประชาธิปไตย การชอบความสนุกสนาน การให้ความสำคัญแก่บุรุษมากกว่าสตรี และการชอบสิ่งของที่มีการโฆษณา

  2. จากการวิเคราะห์ค่านิยมแต่ละด้านในสำนวนไทยพบว่า สำนวนไทย 660 สำนวนไม่ปรากฏค่านิยมด้านใด 478 สำนวน คิดเป็นร้อยละ 72.4 ปรากฏค่านิยมด้านต่าง ๆ 182 สำนวน คิดเป็นร้อยละ 27.6 ค่านิยมที่พบในสำนวนไทยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ การมีสติและรู้คิด การพึ่งตนเอง การขยันหมั่นเพียรและ
    มีความรับผิดชอบ ความเชื่อในเรื่องผลกรรมบาปบุญ การยกย่องอำนาจ การพูดที่ให้คุณและโทษ การมีระเบียบวินัยและเคารพผู้ใหญ่ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ และความอดทน ความมัธยัสถ์ การประหยัดและการออม การชอบความเป็นอิสระ การรักเกียรติยศ และชอบความมีหน้ามีตา การนิยมความดี การประนีประนอม การรักความสบาย ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การนิยมวัตถุสิ่งของ การสอดรู้สอดเห็น ความกตัญญู การให้อภัย การยกย่องผู้มีความรู้ ความเข้มแข็ง การรักญาติพี่น้อง การเห็นแก่ตัว การรักษาวัฒนธรรม การคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม และการใช้ชีวิตเรียบง่าย

  1. หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่องค่านิยมในสำนวนไทย ฉบับแปลภาษาจีน มีโครงสร้างเนื้อหาประกอบด้วยค่านิยม 25 ประการ และสำนวนไทยที่สอดคล้องกับค่านิยม 182 สำนวน ซึ่งมีทั้งภาษาไทยและภาษาจีน หนังสือได้รับการประเมินระดับคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 หนังสือสามารถนำไปใช้ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ปฏิพันธ์ อุทยานุกู, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ยุพิน จันทร์เรือง, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). สำนวนไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กุลธิดา ธรรมวิภัชน์, พรปภัสสร ปรัญชาญกล, วันดี ศรีสำราญ, และ รัตนาพร แหม่งปัง. (2554). ชุดฝึกอบรมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างค่านิยมรักท้องถิ่นและกิจกรรมนาฏศิลป์อาสา เรื่อง ประเพณีฮีตสิบสอง สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ขวัญชนก นัยเจริญ. (2557). การวิเคราะห์ภาพสะท้อนค่านิยมของไทยจากนิทานพื้นบ้าน. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ วอเตอร์ บุ๊ค.

จินดา บุญคุ้ม. (2554). การวิเคราะห์ค่านิยมในภาษิตคำเมืองจังหวัดน่าน. (การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลับนเรศวร).

จินตนา ใบกาซูยี. (2542). การเขียนสื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ฉวีวรรณ คูหาอภินันทน์. (2545). การอ่านและส่งเสริมการอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

ณัฐชยา วิชาสิทธ์. (2550). การศึกษาวิเคราะห์คุณธรรมที่ปรากฏในสำนวนไทย. (การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลับนเรศวร).

ถวัลย์ มาศจรัส. (2535). การเขียนหนังสือส่งเสริมการอ่านและหนังสืออ่านเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

นันทนา เรียนดี. (2535). การวิเคราะห์และจัดประเภทของเนื้อหาด้านการปลูกฝังค่านิยมในนิตยสารภาษาไทยที่เยาวชนชอบอ่าน. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

บรรเทิง พาพิจิตร. (2549). ประเพณี วัฒนธรรมไทยและคติความเชื่อ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ปิยะดา โล. (2551). กลวิธีการแปลสำนวนและกริยาวลีภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในบทบรรยายภาพยนตร์การ์ตูน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา)

พวงผกา ประเสริฐศิลป์. (2541). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ฝ่ายเอกสารและตำรา สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

เพ็ญแข วัจนสุนทร. (2522). ค่านิยมในสำนวนไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิทยากร.

ไพโรจน์ อยู่มณเฑียร. (2551). สำนวนไทยใช้ให้เป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ทฤษฎี.

ภัทรวรรณ ภู่ผะกา. (2554). วิเคราะห์ค่านิยมที่ปรากฏในคำขวัญเด็กแห่งชาติระหว่างพุทธศักราช 2499 – 2553. (การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ราตรี อนุสุเรนทร์ (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านดารอ่าน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดมาตราตัวสะกดประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). หลักการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สหไทย ไชยพันธุ์. (2542). วิเคราะห์สำนวนไทยในบทโฆษณาจากนิตยสารระว่างปี พุทธศักราช 2539 – 2540. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

สัญฉวี สายบัว. (2553). หลักการแปล. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2526). คู่มือปลูกฝังค่านิยม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สุจริต เพียรชอบ. (2539). ศิลปะการใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2552). การแปลขั้นสูง. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อริยานุวัฒน์ สมาธยกุล . (2559). ที่มาของอำนาจนิยมในสำนวนไทย. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.