คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในโรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

จตุรงค์ ประกายสกุล
วราภรณ์ ศิริสว่าง
วันทนีย์ ชวพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่มีภาวะแทรกซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และการปฏิบัติตนกับระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่มีภาวะแทรกซ้อนในโรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินเพศชายและหญิงที่มีภาวะแทรกซ้อนและรักษาตัวที่โรงพยาบาลสารภี ในระหว่างวันที่  16 มีนาคม 2559 ถึง 21 เมษายน 2559  จำนวน 105 คน เลือกสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินโดยรวมอยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 84.36 ± 1.40 มิติที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ มิติด้านสังคม (93.45 ± 9.82) รองลงมาคือมิติด้านข้อจำกัดทางจิตใจ (92.38 ± 2.28) มิติด้านสุขภาพจิต (87.47 ± 1.15) มิติด้านข้อจำกัดทางร่างกาย (87.14 ± 2.75) มิติที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยสุดคือมิติด้านสุขภาพโดยรวม (64.52 ± 2.17) สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต คือ การปฏิบัติตน (p-value = 0.002) ส่วนปัจจัยอื่น ได้แก่ อายุ รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน อายุที่เริ่มป่วยเป็นโรคเบาหวาน ระยะเวลาการป่วยเป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด รอบเอวและดัชนีมวลกาย และความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานไม่มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตโดยรวม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biography

จตุรงค์ ประกายสกุล

โรงพยาบาลสารภี 147 ม.3 ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 50140

References

กิตติ จิระรัตนโพธิ์ชัย และคณะ. (2548). “ความน่าเชื่อของแบบสอบถามเอสเอฟ-36 รุ่นที่ 2 ฉบับภาษาไทยในการประเมินอาการผู้ป่วยปวดหลัง”. วารสารจดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชูปถัมภ์, 88(10), 1355 – 1361.

กฤติเดช มิ่งไม้ พิชสุดา เดชบุญ และอภิเชษฐ์ จำเนียรสุข. (2559). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับการรักษาในหน่วยตรวจอายุรกรรมของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน ครั้งที่ 6. 9 กรกฎาคม 2559 (น. 1 – 7). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

จิณณพัต ธีรอภิศักดิ์กุล และพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. (2552). คุณภาพชีวิตและปัจจัยทางจิตสังคมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 54(2), 185 – 196.

จุฑามาศ เกษศิลป์ พาณี วิรัชชกุล และอรุณี หล่อนิล. (2556). การจัดการดูแลตนเอง ความรู้ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ ก่อน–หลัง เข้าโปรแกรมการจัดการการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขต อ.เมือง จ.อุทัยธานี, วารสารกองการพยาบาล, 40(1), 84 – 103.

ชัชลิต รัตรสาร. (2556). การระบาดของโรคเบาหวาน และผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาล รามาธิบดี.

ดวงเดือน จันทสุรียวิช. (2552). ภาวะแทรกซ้อนที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกและการบริหาร, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี).

ถาวร ศรไชย. (2557). ผลลัพธ์ของโปรแกรมการให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสี่ยงต่อเบาหวาน ขึ้นจอประสาทตา. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน).

ประภา พิทักษา และปัณสุข สาลิตุล. (2555). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์ แผนไทยชุดหลักธรรมานามัย”. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 10(1), 43 – 51.

ภัทรพงษ์ ศรีคีรีราษฎร์ รวีวรรณ สุวรรณปักษิณ และรุ้งลาวัลย์ แสงรัตน์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย เป็นโรคเป็นโรคเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน : กรณีศึกษาในเขตเทศบาลตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร).

โรงพยาบาลสารภี. (2557). ข้อมูลพื้นฐานขององค์กร. เชียงใหม่. โรงพยาบาลสารภี.

วรรณรา ชื่นวัฒนา และณิชานาฏ สอนภักดี. (2557). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(3), 163 – 170.

ศลาฆนันท์ หงษ์สวัสดิ์. (2551). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัด ราชบุรี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล).

ศิรินทิพย์ โกนสันเทียะ. (2554). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี เมืองยาง อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 17(1), 31 – 43.

สง่า สงครามภักดี. (2555). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 9(1), 38 – 46.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2556). จำนวนและอัตราผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน (E10 – E14) ต่อประชากร 100,000 คน (รวมทุกการวินิจฉัยโรค) ปี พ.ศ. 2550 – 2556 จำแนกรายจังหวัด เขตบริการสาธารณสุขและภาพรวมประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร). นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2551). เอกสารการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สุภาภรณ์ ตันตินันทตระกูล. (2555). เบาหวาน ถ้ารู้ทัน ก็ไร้เสี่ยง. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 4(2), 125 – 135.

เสกสรร หีบแก้ว. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

โสภิต อุบล. (2557). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลถ้ำพรรณรา. วารสารสุขภาพภาคประชาชนภาคใต้, 28(2), 18 – 24.

อนัญญา บำรุงพันธุ์, วันดี บุญเกิด และพัชรี ประภาสิต. (2554). “ผลการใช้รูปแบบการจัดการตนเองต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่มีภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น โรงพยาบาลพระปกเกล้า”. วารสารกองพยาบาล, 38(1), 42 – 51.

อำนวย สันเทพ. (2532). การศึกษาความต้องการคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ระดับตำบล ใน สาธารณสุขเขต 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล).

International Diabetes Federation. (2013). IDF Diabetes Atlas. Sixth Edition. Brussels: De Visu Digital Document Design.

WHO. (2007). Diabetes Prevention and Control: A Strategy for the WHO African Region. Report of the Regional Director at the 15th Regional Committee for Africa, Brazzaville, Republic of Congo.