คนชายขอบในสารคดีของอรสม สุทธิสาคร: กรณีศึกษาอุดมการณ์ วิถีปฏิบัติทางวาทกรรมและสังคมวัฒนธรรม

Main Article Content

บัณฑิต ทิพย์เดช
สนม ครุฑเมือง
เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาอุดมการณ์ ตลอดจนวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมและสังคมวัฒนธรรมของคนชายขอบในสารคดีของอรสม สุทธิสาคร โดยใช้กรอบวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis - CDA) ของแฟร์เคลาฟ์ (Fairclough)


ผลการศึกษาพบกลวิธีทางภาษาทั้งสิ้น 10 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีการใช้คำศัพท์หรือวลี กลวิธีการใช้ประโยคเพื่อแสดงเหตุผล กลวิธีการใช้มูลบท กลวิธีการใช้อุปลักษณ์ กลวิธีการใช้สหบท กลวิธีการใช้คำแสดงทัศนภาวะ กลวิธีอ้างถึงส่วนใหญ่ กลวิธีการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ กลวิธีการซ้ำประโยค และกลวิธีการใช้โครงสร้างประโยคเพื่อแสดงความสัมพันธ์ ซึ่งกลวิธีทางภาษาดังกล่าวจะช่วยทำให้มองเห็นภาพอุดมการณ์คนชายขอบชัดเจนขึ้น


ผลการศึกษาวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมและสังคมวัฒนธรรมพบว่า อุดมการณ์คนชายขอบที่สื่อสารผ่านงานเขียนในรูปแบบสารคดีมีแนวโน้มที่จะเข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้ง่าย เนื่องด้วยรูปแบบของสารคดีที่อุดมไปด้วยข้อเท็จจริง มีวิธีการเขียนเล่าเรื่องที่น่าสนใจ มีการจัดวางรูปภาพและองค์ประกอบที่สวยงาม ตลอดจนกระบวนการตีพิมพ์ที่สามารถทำซ้ำได้ จึงทำให้วาทกรรมเผยแพร่ได้กว้างไกล อีกทั้งการเผยแพร่วาทกรรมดังกล่าวในบริบทของสังคมไทยที่ยังคงเป็นสังคมแห่งความเอื้อเฟื้อและให้อภัย ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดความเข้าอกเข้าใจคนชายขอบ และนำไปสู่การเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อคนชายขอบในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2554). สื่อเก่า สื่อใหม่ ใจเชื่อมร้อย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

จันทิมา เอียมานนท์. (2549). การศึกษาวาทกรรมเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์ในสังคมไทยตามแนวปฏิพันธวิเคราะห์. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุริชัย หวันแก้ว. (2546). กระบวนการกลายเป็นคนชายขอบ. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

อรสม สุทธิสาคร. (2531). เจ้าชายนักประพันธ์: เบื้องหลังฉากชีวิตของ ม.จ.อากาศดำเกิง รพีพัฒน์. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

อรสม สุทธิสาคร. (2532). นักฝันคนกล้า อ.อุดากร. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

อรสม สุทธิสาคร. (2534). บนทางชีวิตแสวงหา มาลา คำจันทร์. กรุงเทพฯ: สามัญชน.

อรสม สุทธิสาคร. (2539ก). สนิมดอกไม้: ชีวิตจริงในมุมมืดของหญิงไทย. กรุงเทพฯ: สารคดี.

อรสม สุทธิสาคร. (2539ข). ยังมีดอกไม้ในอรุณ. กรุงเทพฯ: มติชน.

อรสม สุทธิสาคร. (2540). คุก ชีวิตในพันธนาการ. กรุงเทพฯ: สารคดี.

อรสม สุทธิสาคร. (2543). อาชญากรเด็ก ?. กรุงเทพฯ: สารคดี.

อรสม สุทธิสาคร. (2545). ดอกไม้ราตรี สินค้ามีชีวิต. กรุงเทพฯ: สารคดี.

อรสม สุทธิสาคร. (2546ก). ชีวิตคู่ (ไม่) รู้กัน. กรุงเทพฯ: สารคดี.

อรสม สุทธิสาคร. (2546ข). นักโทษประหารหญิง. กรุงเทพฯ: สารคดี.

อรสม สุทธิสาคร. (2546ค). คนค้นชีวิต. กรุงเทพฯ: สารคดี.

อรสม สุทธิสาคร. (2547). คำสารภาพ...บาปบริสุทธิ์. กรุงเทพฯ: สารคดี.

อรสม สุทธิสาคร. (2550). เช้าวันใหม่...ในเงามืด: พิมใจ อินทะมูล. กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์.

อรสม สุทธิสาคร. (2552). หลายชีวิต...ในแสงอัสดง. กรุงเทพฯ: สารคดี.

อรสม สุทธิสาคร. (2555). การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้พิพากษากับผู้ต้องขัง. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการในพระราชดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

อัลธูแซร์, หลุยส์. (2529). อุดมการณ์และกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ. แปลโดย กาญจนา แก้วเทพ. กรุงเทพฯ: โครงการหนังสือเล่ม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bloor, M. (2007). The practice of critical discourse analysis: an introduction. London: Hodder Arnold.

Fairclough, N. (2003). Analysing Discourse: Textual Analysis for Social Research. London: Routledge.