วาทกรรมความรุนแรงในนิทานพื้นบ้านล้านนา

Main Article Content

วัชรินทร์ แก่นจันทร์
สนม ครุฑเมือง
เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยเรื่อง “วาทกรรมความรุนแรงในนิทานพื้นบ้านล้านนา” มีจุดมุ่งหมายเพื่อ  1)  วิเคราะห์ความรุนแรงที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านล้านนา และ 2)  วิเคราะห์กระบวนการสร้างความรุนแรงในนิทานพื้นบ้านล้านนา          โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากนิทานพื้นบ้านล้านนา จำนวน 740 เรื่อง ซึ่งใช้แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์  ทฤษฎีความรุนแรง  แนวคิดคู่ตรงข้าม  และทฤษฎีอารมณ์ขัน มาใช้ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ และอธิบายความข้อมูล


            ผลการวิจัยพบว่า ความรุนแรงที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านล้านนา ปรากฏความรุนแรง 2 ลักษณะ คือ    ความรุนแรงเดี่ยวและความรุนแรงซ้อน  ความรุนแรงเดี่ยว ประกอบด้วย 1) ความรุนแรงทางตรง พบความรุนแรงทางร่างกายมากที่สุด  รองลงมาคือความรุนแรงโดยการประทุษวาจา  ความรุนแรงต่อทรัพย์สิน และความรุนแรงทางเพศ ตามลำดับ  2) ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง พบความรุนแรงเชิงโครงสร้างทางการศึกษามากที่สุด รองลงมาคือความรุนแรงเชิงโครงสร้างทางเพศ และความรุนแรงเชิงโครงสร้างทางอาชีพ/ตำแหน่ง ตามลำดับ                 และ 3) ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม พบความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมทางเพศมากที่สุด รองลงมาคือความรุนแรง       เชิงวัฒนธรรมทางภาษา  ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมความเชื่อ  และความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมการกินตามลำดับ  ส่วนความรุนแรงซ้อน ประกอบด้วย 1) ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่ส่งผลให้เกิดความรุนแรงทางตรง 2) ความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ส่งผลให้เกิดความรุนแรงทางตรง  และ 3) ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่ส่งผลให้เกิดความรุนแรงเชิงโครงสร้างต่อเนื่องให้เกิดความรุนแรงทางตรง


            ส่วนกระบวนการสร้างความรุนแรงในนิทานพื้นบ้านล้านนา พบทั้งหมด 5 กระบวนการ คือ 1) กระบวนการสร้างให้เป็นชายขอบ/คนอื่น  2) กระบวนการลดคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  3) กระบวนการเพิ่มหรือลด     อัตลักษณ์  4) กระบวนการทำให้เป็นสินค้า และ 5) กระบวนการสร้างความชอบธรรม

Article Details

How to Cite
แก่นจันทร์ ว., ครุฑเมือง ส., & วิวัฒนเศรษฐ์ เ. (2018). วาทกรรมความรุนแรงในนิทานพื้นบ้านล้านนา. พิฆเนศวร์สาร, 14(1), 63–83. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/131547
บท
บทความวิจัย

References

กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ และโสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. (2549). วาทกรรมกับภาคใต้และความรุนแรงในสังคมไทย. ใน กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ และจันทิมา เอียมานนท์ (บรรณาธิการ), มองสังคมผ่านวาทกรรม. (หน้า 103-134). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โขมสี แสนจิตต์. (2548). ความรุนแรงในปัญญาสชาดก. ใน ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล และคณะ (บรรณาธิการ), ความรุนแรงในมิติวัฒนธรรม เล่ม 2, (หน้า 128-143). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2543). วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บาหยัน อิ่มสำราญ. (2548). เสือโค ความรุนแรงและการสืบทอด. ใน ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล และคณะ (บรรณาธิการ), ความรุนแรงในมิติวัฒนธรรม เล่ม 2, (น. 144-174). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2551). ลัวะกินคน: วาทกรรมการสร้างภาพลักษณ์ความรุนแรงจากตำนานและพิธีกรรมของคนต่างชาติพันธุ์. ใน ปฐม หงษ์สุวรรณ (บรรณาธิการ), กาลครั้งหนึ่ง: ว่าด้วยตำนานกับวัฒนธรรม. (น. 162-213). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2556). อมราพิศวาส: ผู้หญิงรักกับพระนัยของความรุนแรง. ใน ปฐม หงษ์สุวรรณ (บรรณาธิการ), นานมาแล้ว มีเรื่องเล่า นิทาน ตำนาน ชีวิต. (น. 311-348). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณราย ชาญหิรัญ. (2553). ไกรทอง: ความรุนแรงระหว่างเผ่าพันธุ์และเพศ. ใน นัทธนัย ประสานนาม (บรรณาธิการ), แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน: วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา, (น. 98-138). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

พิรงรอง รามสูต. (2558). ประทุษวาจากับโลกออนไลน์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ระพี อุทีเพ็ญตระกูล. (2551). ความรุนแรงในวรรณคดีเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

วัชรินทร์ แก่นจันทร์. (2556). งานวิจัยเรื่องวาทกรรมความรุนแรงในนิทานขำขันของล้านนา. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

หทัยวรรณ ไชยะกุล. (2539). การสร้างมุขตลกในเรื่องขำขันของล้านนา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).