มายาคติในนิทานพื้นบ้านล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “มายาคติในนิทานพื้นบ้านล้านนา” มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษามายาคติที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านล้านนา โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากนิทานพื้นบ้านล้านนาที่รวบรวมโดยสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และใช้แนวคิดเรื่องมายาคติ แนวคิดเรื่องคู่ตรงข้าม และแนวคิดเรื่องสัญวิทยา เป็นแนวทางในการศึกษา
ผลการวิจัยพบว่านิทานพื้นบ้านล้านนาปรากฏมายาคติ 4 ประการ ได้แก่ มายาคติว่าด้วยเรื่องชายเป็นใหญ่ แสดงให้เห็นถึงค่านิยมของคนล้านนาที่ยกย่องให้เพศชายอยู่เหนือสตรี มายาคติว่าด้วยอคติทางชาติพันธุ์ แสดงให้เห็นถึงการแบ่งแยกระหว่างพวกเราพวกเขา และประกอบสร้างให้พวกเราอยู่เหนือกว่าพวกเขา มายาคติว่าด้วยเรื่องการปกครอง แสดงให้เห็นถึงการเคารพ เชื่อฟัง คนที่เป็นตัวแทนของภาครัฐ ในการตัดสินหรือกระทำการใด ๆ และมายาคติว่าด้วยเรื่องชนชั้น แสดงให้เห็นถึงการให้คุณค่าของเงิน การศึกษา และระบบอาวุโส
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ทยากร แซ่แต้. (2551). มายาคติทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในละครเกาหลีและการสร้างประโยชน์ทางธุรกิจ. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นพพร ประชากุล. (2555). คำนำเสนอบทแปล. ใน วรรณพิมล อังคศิริสรรพ (แปล), มายาคติ, กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2551). นานมาแล้ว มีเรื่องเล่า นิทาน ตำนาน ชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2551). นิทานพื้นบ้านศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรี โชติถาวรรัตน์. (2528). แนวความคิดทางการเมืองของลานนาไทยสมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1839 -2101): วิเคราะห์จากเอกสารใบลานภาคเหนือ. อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยสังคม. (2527). นิทานพื้นบ้านล้านนา : เอกสารข้อมูล เล่ม 1. เชียงใหม่: ฝ่ายวิจัยล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยสังคม. (2528). นิทานพื้นบ้านล้านนา : เอกสารข้อมูล เล่ม 2. เชียงใหม่: ฝ่ายวิจัยล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยสังคม. (2530ก). นิทานพื้นบ้านล้านนา : เอกสารข้อมูล เล่ม 3. เชียงใหม่: ฝ่ายวิจัยล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยสังคม. (2530ข). นิทานพื้นบ้านล้านนา : เอกสารข้อมูล เล่ม 4. เชียงใหม่: ฝ่ายวิจัยล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยสังคม. (2532). นิทานพื้นบ้านล้านนา : เอกสารข้อมูล เล่ม 5. เชียงใหม่: ฝ่ายวิจัยล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ยศ สันตสมบัติ. (2543). หลักช้าง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2546). ประวัติศาสตร์ล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
สิทธิโชค วรานุสันติกุล. (2546). จิตวิทยาสังคม: ทฤษฎีและการประยุกต์ (Spcial Psychology: Theorise and Application). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2543). คนเมือง ในตำนานประวัติศาสตร์ ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: ตรัสวิน.
Barthes, R. (1973). Myth today, In his Mythologies, pp. 117-174. Translated by Annette Lavers. Londod: Paladin.
Dijk, T.A. (1997). The study of discourse. in Van Dijk’ T.A. (ed.). Discourse as Structure and Process. London: SAGE.