ความเชื่อและปัจจัย 4 ของมนุษย์ในนิทานพื้นบ้านไตยอง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

กรองทอง จิรเดชากุล
สนม ครุฑเมือง

บทคัดย่อ

บทความนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อและปัจจัย 4 ของมนุษย์ ที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้าน
ไตยอง  บ้านดอนหลวง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน  โดยศึกษาจากนิทานพื้นบ้านไตยอง  จำนวน  200  เรื่อง  แล้ววิเคราะห์ความเชื่อจากนิทานที่คัดเลือกไว้  จำนวน 54 เรื่อง  พบว่า  มีความเชื่อ 6 ประเภท  ได้แก่ ความเชื่อเรื่องศาสนาพุทธ บาป บุญ เวรกรรม นรก สวรรค์ ภพภูมิ  ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ เวทมนตร์/คาถา เครื่องราง ของขลัง  ผี  ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ โชคลาง ฤกษ์ยาม ความฝัน  ความเชื่อเรื่องศาสนาพราหมณ์ เครื่องเซ่นไหว้บูชา  ความเชื่อเรื่องการเกิดของโลก  และความเชื่อเรื่องป่าหิมพานต์  โดยความเชื่อที่พบมากที่สุด ได้แก่ ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ เวทมนตร์ คาถา เครื่องราง ของขลัง ผี  และความเชื่อที่พบน้อยที่สุด ได้แก่ ความเชื่อเรื่องการเกิดของโลกมนุษย์  ส่วนปัจจัย 4 ของมนุษย์ได้วิเคราะห์จากนิทานที่คัดเลือกแล้ว จำนวน 40 เรื่อง  พบว่า  มีปัจจัย 4 ของมนุษย์ 4 ประเภท ได้แก่ ปัจจัย 4 ของมนุษย์ด้านที่อยู่อาศัยหรืออาคาร  ด้านอาหารการกินหรืออาหาร  ด้านเครื่องนุ่งห่มหรืออาภรณ์  และด้านยารักษาโรคหรือโอสถ  โดยปัจจัย 4 ของมนุษย์ ที่พบมากที่สุด ได้แก่ ด้านที่อยู่อาศัยหรืออาคาร  และที่พบน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านยารักษาโรคหรือโอสถ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

จักรกฤษณ์ อู่ตุ้ม. (2556). การวิเคราะห์บทสู่ขวัญตามวัฒนธรรมล้านนา จังหวัดอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์. (2543). ขึด: ข้อบัญญัติแห่งพฤติกรรมไทยยอง ลำพูน. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ.

พระญาณวโรดม. (2533). หลักปัจจัยสี่ทางศาสนา. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

มณี พยอมยงค์. (2534). วัฒนธรรมล้านนา. เชียงใหม่: ล้านนาการพิมพ์.

เยาวลักษณ์ กิตติชัย. (2533). นิทานพื้นบ้านในคติชนวิทยา. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

วิลักษณ์ ศรีป่าซาง. (2536). คนยองบ้านเหล่าดู่: ประวัติ ชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อและเอกลักษณ์. รายงานการศึกษาล้านนาคดี สาขาวิชาภาษาไทยและวรรณกรรมล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิราพร ฐิตะฐาน ณ ถลาง. (2537). นิทานพื้นบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศิราพร ฐิตะฐาน ณ ถลาง. (2548). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนม ครุฑเมือง. (2545). โบราณอุบาย การวิเคราะห์ภูมิปัญญาไทยในความเชื่อ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

สนม ครุฑเมือง และคณะ. (2553). พจนานุกรมภาษาไตยอง-ไทย และไทย-ไตยอง ฉบับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

โสภณ อ้นไชยะ และ คณะ. (2543). การใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อการดำรงชีวิต ตำบลแม่พูล จังหวัดอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).