มโนทัศน์โลกศึกษาของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธีรภัทร กุณาวงศ์
จารุณี มณีกุล
เชษฐภูมิ วรรณไพศาล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์โลกศึกษาของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์โลกศึกษาของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน กลุ่มเป้าหมายคือ ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามมโนทัศน์โลกศึกษาของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  สถิติที่ใช้ในการบรรยายข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า  


  1. ระดับมโนทัศน์โลกศึกษาครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ มีค่าเฉลี่ยในภาพรวม เท่ากับ 3.55 อยู่ในระดับมาก

  2. การเปรียบเทียบมโนทัศน์โลกศึกษาของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน พบว่า ครูที่มีประสบการณ์การทำงาน 21-25 ปี มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.03 อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เชษฐภูมิ วรรณไพศาล. (2559). มโนทัศน์ทางสังคมศึกษา. เชียงใหม่: ครองช่าง พริ้นติ้ง.

นาตยา ปิลันธนานนท์. (2542). การเรียนรู้ความคิดรวบยอด. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). เอกสารสนับสนุนการดำเนินงานแนวทางการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Bozkurt, M & Yasar, S. (2016). Primary school teachers’ views about global education in Social Studies courses. Eurasian Jounal of Education Research, 65,129-146.

Rock, T., Polly, D. & Handler. (2016). Preparing Elementary Teacher Candidates to Use Global Content: An Action Research Study. 11(3), PP.31-41,