การบริหารงานโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2 ตามวงจรคุณภาพ (PDCA)

Main Article Content

สมจิต ไชยเชษฐ
สมเกตุ อุทธโยธา
จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานของโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2 และเสนอแนวทางการบริหารงานโรงเรียนจัดการเรียนร่วมโดยใช้กระบวนการบริหารงานอย่างมีคุณภาพตามวงจรคุณภาพ (PDCA) สำหรับโรงเรียนอื่น ๆ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหาร และบุคลากรในโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม จำนวน 4 โรงเรียนรวม 16 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียนร่วม จำนวน 2 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย มี  2 ชุด คือ ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถาม ชุดที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เกี่ยวกับการบริหารงานโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ทั้ง 4 ด้าน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้


  1. สภาพการบริหารงานโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ตามวงจรคุณภาพ (PDCA) สรุปภาพรวมการบริหารงานโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม ตามรูปแบบการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท  4  ด้าน พบว่า ด้านสภาพแวดล้อม ( = 4.47, S.D. = 0.62) รองลงมาคือด้านเครื่องมือ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก ( = 4.40, S.D. = 0.63)  ต่อจากนั้นเป็นด้านนักเรียน ( = 4.38, S.D. = 0.63) และด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ( = 4.38, S.D. = 0.63) ตามลำดับ  เมื่อพิจารณาตามวงจรคุณภาพ (PDCA) พบว่าด้านที่มีการดำเนินงานในภาพรวมในระดับมาก เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยมีดังนี้ คือ การดำเนินการตามแผน (DO) ( = 4.66, S.D. = 0.59), การวางแผนปฏิบัติงาน (PLAN) ( = 4.55, S.D. = 0.66), การตรวจสอบประเมินผล (CHECK) ( = 4.41, S.D. = 0.66) และการนำผลการประเมินมาปรับปรุง (ACTION) ( = 4.19, S.D. = 0.52)

  2. แนวทางการบริหารงานโรงเรียนจัดการเรียนร่วมโดยใช้กระบวนการบริหารงานอย่างมีคุณภาพตามวงจรคุณภาพ (PDCA)  ตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) จะมีประสิทธิภาพได้ต้องใช้แนวคิดการบริหารคุณภาพหรือวงจรคุณภาพ (PDCA) เข้าไปบริหารทุกด้าน อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จที่คาดหวังและเพื่อแสวงหาสภาพที่ดีกว่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). นโยบายและแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

เบญจา ชลธาร์นนท์. (2546). คู่มือการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท. กรุงเทพฯ: เพทายการพิมพ์.

ผดุง อารยะวิญญู. (2542). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พุทธศักราช 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 124 ตอนที่ 61 ก. 27 กันยายน 2550.

ไพพร จิระมิตร. (2554). สภาพการศึกษารูปแบบการเรียนร่วมสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

รจเรข พะยอมแย้ม. (2553). การบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิการในโรงเรียนปกติ. (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร).

วิหาร ขันทอง. (2550). สภาพการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

สกุณา นันทะชัย. (2552). การจัดการศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาพิเศษของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 2. (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สนิท ไชยลวง. (2554). ผลการดำเนินงานโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโรงเรียนบ้านหนองป่าก่อ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

สมเกตุ อุทธโยธา. (2556). การเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกติ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). เชียงใหม่: ดาราวรรณการพิมพ์.

โสภณ คำปาเชื้อ. (2550). การศึกษาสภาพการบริหารการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT Framework) สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำพูน. (2558). รายงานผลการดำเนินงานโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม/เรียนรวม ปีการศึกษา 2558 .ลำพูน: ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำพูน.

อัจฉราภรณ์ บัวนวล. (2551). สภาพการดำเนินงานโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมจังหวัดลำพูน. (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).