การบริหารจัดการศูนย์บริการสนับสนุนนักเรียนนักศึกษาพิการ วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่

Main Article Content

สมหวัง โชติการ
สมเกตุ อุทธโยธา
จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการศูนย์บริการสนับสนุนนักเรียนนักศึกษาพิการ  วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่  โดยใช้เทคนิคการประชุมระดมแนวคิดเพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน  และการประชุมกลุ่ม  กลุ่มตัวอย่างได้แก่  ผู้บริหารและครูผู้สอนวิชาชีพ จำนวน 10 คน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน  คือ 1) ขั้นสำรวจ 2) ขั้นระดมสมอง 3) ขั้นออกแบบ 4) ขั้นประเมินผล และศึกษาเฉพาะฝ่ายหรืองานที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนนักศึกษาพิการ วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่  4 ด้าน คือ 1) ด้านวิชาการ  2) ด้านงบประมาณ 3) ด้านบุคลากร และ 4) ด้านบริหารทั่วไป


               ผลการวิจัย การบริหารจัดการศูนย์บริการสนับสนุนนักเรียนนักศึกษาพิการ วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่  ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเฉพาะ 4 ด้าน คือ 1) ด้านวิชาการ เป็นการจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ร่วมกับโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร เชียงใหม่ สาขาวิชาคหกรรม ให้กับผู้เรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน และศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝน เชียงใหม่ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ให้กับผู้เรียนที่บกพร่องทางร่างกาย 2) ด้านงบประมาณ  ได้รับจัดสรรงบประมาณในการจัดการเรียนการสอนผู้เรียนพิการจากหน่วยงานต้นสังกัดเป็นกรณีพิเศษ 3) ด้านบุคลากร ได้รับการอบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ สัมมนา ศึกษาดูงาน อย่างต่อเนื่อง และมีคณะกรรมการศูนย์บริการช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาพิการ วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่  4) ด้านบริหารทั่วไป ประชาสัมพันธ์ร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ งานทะเบียนและคณะกรรมการศูนย์บริการช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาพิการ เป็นผู้ให้บริการ รับสมัคร ตรวจสอบความถูกต้องและจัดเก็บรวบรวมเอกสารให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. สำนักงานส่งเสริมศักยภาพและสิทธิ. (2550). ตัวอย่างที่ดีในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ และคนทุกวัย. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). (ม.ป.ท.: ม.ป.พ).

นภา เศรษฐกร. (2556). การส่งเสริมสิทธิ สวัสดิการของคนพิการ. สืบค้นจาก http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2014/2/2092_5410.ppt

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก (5 กุมภาพันธ์ 2551). สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/moe/nipa/ed_law/p.r.g.edu35.pdf

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจานุเบกษา, เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก (19 สิงหาคม 2542). สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/moe/nipa/ed_law/p.r.g.edu1.pdf

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553). ราชกิจานุเบกษา, เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก (22 กรกฎาคม 2553). สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/moe/nipa/ed_law/p.r.g.edu38.pdf

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 124 ตอนที่ 61 ก (27 กันยายน 2550). สืบค้นจาก http://dep.go.th/sites/default/files/files/law/178.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ศูนย์พัฒนา ส่งเสริม ประสานงาน กิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ. (2554). การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ. (ม.ป.ท): สำนักงานฯ.

สมเกตุ อุทธโยธา. (2556). การเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกติ. เชียงใหม่: หจก.ดาราวรรณการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). การช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกอย่างสมเหตุสมผลและเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาพิการ. (ม.ป.ท): สำนักงานฯ.

อนันต์ นามทองต้น. (2557). เทคนิคการทำ R&D ทางการศึกษาและการเขียนรายงานการวิจัยสู่ผลงานทางวิชาการของข้าราชการครูฯ. นนทบุรี: สหมิตรปริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.