พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การรู้เท่าทันสื่อ และการตระหนักรู้การกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การรู้เท่าทันสื่อ และการตระหนักรู้การกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ การตระหนักรู้การกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการรู้เท่าทันสื่อ การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์กับการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ และการตระหนักรู้การกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 15-25 ปี จำนวนทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กมากที่สุด มีระยะเวลาในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงเวลา 21.01-24.00 น. มากที่สุด ส่วนมากใช้งานที่บ้านหรือที่พักมากที่สุด ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยทักษะการรู้เท่าทันสื่อระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.48 (S.D. = 0.62) มีระดับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) ระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.76 (S.D. = 0.70) และมีระดับการตระหนักรู้การกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.83 (S.D. = 0.55) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า
- พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวมไม่มีความสัมพันธ์กับการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่ มีเพียงตัวแปรจำนวนชั่วโมงที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับการรู้เท่าทันสื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์สัมพันธ์กับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่
- การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์สัมพันธ์กับการตระหนักรู้การกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
2. Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. New York: The Free Press.
3. Livingstone, S. (2004). What is media literacy?. Intermedia, 32(3), 18-20. LSE Research Online
4. ชินดนัย ศิริสมฤทัย. (2560). การรับรู้ ทัศนคติและความตั้งใจในการเกิดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
5. พัชนี เชยจรรยา. (2561). A Meta-analysis on Cyberbullying Factors Correlation in Thai Academic Research. วารสารนิเทศศาสตร์, ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2561) , 1-14.
6. ภาวนีย์ เจนกิติวรพงศ์. การเปิดรับสื่อ ทัศนคติ พฤติกรรมและการรู้เท่าทันในการใช้วาจาสร้างความเกลียดชังของวัยรุ่นไทยในเขตกรุงเทพมหานครผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook). วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม 2561), 79-93.
7. เยาวภา บัวเวช และ มาริษา สุจิตวณิ. (2558). รายงานการวิจัย การรู้เท่าทันสื่อ : ประโยชน์และการนำไปใช้ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภฏนครปฐม.
8.วิเชียร เกตุสิงห์. (2545). การใช้โปรแกรม SPSS for Windows และการแปลผลการวิเคราะห์. นนทบุรี : โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล
9. วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์, ศิวพร ปกป้อง, นันทนัช สงศิริ และปองกมล สุรัตน์. (2552). พฤติกรรมการข่มเหงรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ :ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย.
10. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ปี 2561 Thailand Internet User Profile 2018. กรุงเทพมหานคร : สำนักยุทธศาสตร์ งานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
11. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สถิติประชากรจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
12. สุภารัตน์ แก้วสิทธิ. (2553). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต การรู้เท่าทันสื่อและพฤติกรรมการป้องกันตัวเองจากการละเมิดสิทธิส่วนบุคลทางอินเทอร์เน็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).