การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ธันยาลักษณ์ สังขลักษณ์
จุฑารัตน์ เกตุปาน

บทคัดย่อ

จุดมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 โรงเรียนตะพานหิน จังหวัดพิจิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะด้านการอ่านจับใจความ จำนวน 30 ข้อ และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (S.D.) และ ค่าที t-test (Dependent Samples)


ผลการศึกษาพบว่า 1) การสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.15/86.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.57, S.D. = 0.68)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทนา สุขสมบูรณ์. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยเทคนิค SQ6R. (วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ปิยาภรณ์ ศรีจันทร์. (2557). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ6R ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ).

โรงเรียนตะพานหิน. (2562ก). การวัดและประเมินผลการศึกษา. พิจิตร:โรงเรียนตะพานหิน.

โรงเรียนตะพานหิน. (2562ข). รายงานผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร เขต 1. พิจิตร: โรงเรียนตะพานหิน.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2554). นวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

วิไล ทองสม. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแผนผังความคิด เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร).

สุดารัตน์ ฉายทอง. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิค SQ6R เรื่อง Travel Around Sisaket สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สืบค้นจาก http://www.kruwandee.com/print.php?action=print&id=1245&module=forum

อารีย์ ทองเพ็ง. (2556). ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี SQ6R ร่วมกับเทคนิค KWL ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจในการอ่านและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ).

Williams, S. (2005). Guiding students through the jungle of research based literature. College Teaching, 53(4), 137-139.