แนวคิดกระบวนการสร้างซอด้วงจากวัสดุทดแทน (เรซิ่น) ของครูจักรี มงคล

Main Article Content

วรปรัชญ์ ทองหล่อ
เทพิกา รอดสการ

บทคัดย่อ

แนวคิดการสร้างซอด้วงจากวัสดุทดแทน (เรซิ่น) ของครูจักรี มงคล เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การศึกษากระบวนการผลิตซ้ำผ่านกระบวนการผลิตซอด้วงจากวัสดุทดแทน (เรซิ่น) ของครูจักรี มงคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดกระบวนการสร้างซอด้วงจากวัสดุทดแทน (เรซิ่น) ของครูจักรี มงคล มุ่งศึกษาจากการเก็บข้อมูลภาคสนาม รวมถึงภาคปฏิบัติ ซึ่งได้จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ และจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเอกสาร ข้อมูลภาพนิ่ง มีการลำดับตั้งแต่ขั้นรวบรวมข้อมูล ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล และสุดท้ายขั้นสรุปข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดในการสร้างซอด้วงจากวัสดุทดแทนของครูจักรี มงคล มาจากที่ท่านได้รับรู้และพบเห็นค่านิยมของสังคมนักดนตรีไทยในการใช้เครื่องดนตรีไทยที่ทำมาจากไม้หายากและงาช้างเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดเป็นค่านิยมที่ขวนขวายมาครอบครองแม้จะมีราคาสูงและหายาก ท่านต้องการนำเสนอแนวคิดการใช้เครื่องดนตรีไทยให้เห็นถึงแก่นแท้คือการบรรเลง จึงได้ผลิตเครื่องดนตรีไทยที่ทำจากวัสดุทดแทนที่หาง่ายและมีราคาไม่สูงให้มีคุณภาพทั้งกายภาพและเสียงดีทัดเทียมกับวัสดุธรรมชาติ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการตื่นตัวตระหนักถึงวัตถุประสงค์แท้จริงของเครื่องดนตรี และตระหนักถึงการรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่ในปัจจุบันมีน้อยลงให้ยังคงอยู่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุนันท์ เชาว์ดี. (2559). สวยดอก: การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมหัตถศิลป์ งานใบตองล้านนา ดำรงวิชาการ, 15(2), 117-144.

ธีรพงศ์ คำโปร่ง. (2560). กรรมวิธีการสร้างซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาดุริยางค์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ประสิทธิ์ เลียวศิริพงษ์. (2544). การทำเครื่องดนตรีล้านนา. ดนตรีไทยอุดมศึกษาครั้งที่ 32, 77-86.

พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2554). ปฐมบทดนตรีไทย. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภารดี มหาขันธ์. (2527). การสร้างเครื่องดนตรีไทยในภาคตะวันออก ที่ระลึกในการประกวดดนตรีไทยระดับนักเรียนภาคตะวันออก ครั้งที่ 5 ถ้วยพระราชทนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์. ชลบุรี: ม.ป.พ.

วัชรพล คงอุดมสิน. (2560). กรรมวิธีการสร้างซอด้วงของครูประสิทธิ์ ทัศนากร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหบัณฑิต, สาขาวิชาดุริยางค์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2557). พระอุปคุต : การสืบทอดและการผลิตซ้ำความเชื่อ ตำนานและพิธีกรรมในสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ศุภกร เจริญสุขประภา. (2555). การเลือกใช้วัสดุทดแทนในการสร้างเครื่องดนตรีไทยของอาจารย์มานพ แก้วบูชา:กรณีศึกษารางระนาดเอกไฟเบอร์กลาส. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมาหบัณฑิต, สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).