การปฏิสัมพันธ์ทางดนตรีภาคเหนือและดนตรีภาคกลางในช่วงหลังการเสด็จกลับนครเชียงใหม่ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี

Main Article Content

ณัฐวุฒิ อุ่นอกแดง
เทพิกา รอดสการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ทางดนตรีภาคเหนือและดนตรีภาคกลางในช่วงการเสด็จนิวัตินครเชียงใหม่ของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดปรากฏการณ์ปฏิสัมพันธ์ทางดนตรีระหว่างดนตรีภาคเหนือกับดนตรีภาคกลางในช่วงเสด็จนิวัตินครเชียงใหม่ของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบศึกษาเอกสารและแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา จำแนกประเภทข้อมูล เปรียบเทียบข้อมูล และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ในรูปแบบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปฏิสัมพันธ์ทางดนตรีภาคเหนือและดนตรีภาคกลางในช่วงการเสด็จนิวัตินครเชียงใหม่ของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี เกิดขึ้นเมื่อพระองค์เสด็จนิวัตินครเชียงใหม่เป็นการถาวร เมื่อ พ.ศ. 2457 ทรงนำรูปแบบ หลักการการบรรเลง และการแสดงแบบภาคกลางมาปรับปรุงดนตรีและนาฏศิลป์ของภาคเหนือให้มีระบบระเบียบเป็นแบบแผนและเป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น พระนิพนธ์ชิ้นสำคัญที่แสดงถึงปฏิสัมพันธ์ทางดนตรีภาคเหนือและดนตรีภาคกลางมีจำนวน 8 ชุดการแสดง คือ ละครน้อยใจยา ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนม่านแม่เล้ ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนเล็บและฟ้อนเทียน ฟ้อนโยคีถวายไฟ ฟ้อนมอญหรือผีมด และระบำซอ เมื่อวิเคราะห์รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ทางดนตรี พบว่า แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ (1) การใช้หลักการประพันธ์ด้วยการนำลูกตกมาเรียบเรียงเป็นดนตรีแบบภาคกลาง (2) การบรรเลงแบบดนตรีภาคกลางและนำเพลงดั้งเดิมแบบภาคเหนือเข้ามาผสม ผลของปฏิสัมพันธ์ทางดนตรีเป็นที่ยอมรับและใช้เป็นแบบแผนในการเรียนดนตรีและนาฏศิลป์เป็นที่นิยมและรับรู้ในวงกว้างสืบมาจวบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม 5 ด้าน คือ การปรับตัว การผสมผสานทางวัฒนธรรม การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม การบูรณาการทางวัฒนธรรม และความขัดแย้งทางวัฒนธรรม  2) ปัจจัยที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ปฏิสัมพันธ์ทางดนตรีระหว่างดนตรีภาคเหนือกับดนตรีภาคกลางในช่วงเสด็จนิวัตินครเชียงใหม่ของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการเมือง ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านวัฒนธรรม   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรยุทธ ยวงศรี และพูนพิศ อมาตยกุล. (2530). เอื้องเงินที่ระลึกงานบรรจุอัฐิ เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่. กรุงเทพฯ: รักสิปป์.

นวชนก วิเทศวิทยานุศาสตร์. (2550). บทบาทด้านการเมืองและสังคมของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

พูนพิศ อมาตยกุล. (2553). ดารารัศมีสายใยรักสองแผ่นดิน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2551). สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น. กรุงเทพฯ: มติชน.

รักเกียรติ ปัญญายศ. (2549). พระราชชายาเจ้าดารารัศมีกับงานสังคีต. {ม.ป.ท.: ม.ป.พ.}

สงกรานต์ สมจันทร์. (2563). ประวัติดนตรีล้านนา. เชียงใหม่: ส.อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยีจำกัด.

แสงดาว ณ เชียงใหม่, เจ้า. (2517). พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่: กลางเวียง.

โสภา ณ เชียงใหม่, เจ้า. (2557). 100 ปีชาตกาล เจ้าโสภา ณ เชียงใหม่. {ม.ป.ท.: ม.ป.พ.}

อมรา พงศาพิชญ์. (2549). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม). (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.