ภาพลักษณ์และประสิทธิผลของสื่อประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่มีต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ศิรสา สอนศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ ประสิทธิผลของสื่อประชาสัมพันธ์ และความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลของสื่อประชาสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบองค์ประกอบเดียวทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยด้านภาพลักษณ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบภาพลักษณ์จำแนกตามโรงเรียน พบว่า โรงเรียนที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขียงใหม่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ผลการศึกษาด้านการรับรู้ การเปิดรับ และชื่นชอบสื่อประชาสัมพันธ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะรับรู้ เปิดรับ และชื่นชอบสื่อประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่จากเพจเฟซบุ๊ก Chiang Mai Rajabhat University และผลการศึกษาประสิทธิผลของสื่อประชาสัมพันธ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่า สื่อประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขียงใหม่มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก และมีผลต่อการตัดสินใจในการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีความคิดเห็นในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติญา จันทพันธ์. (2560). 72 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาพลักษณ์ โอกาส และศักยภาพของมหาวิทยาลัยศิลปากร ในมุมมองของสังคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2564ก). วารสารพิงค์ราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 18(17), 1.

งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2564ข). วารสารพิงค์ราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 18(20), 3.

จาตุรนต์ สุขุมาลพงษ์, สมนึก ภัททิยธนี และฐิตาภรณ์ เวียงวิเศษ. (2560). ความต้องการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), 31-40.

ณฐวัฒน์ คณารักสมบัติ. (2560). การรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของนักศึกษาที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(1), 55-66.

ปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศ์ภัทร์ ฟักฟูม. (2557). ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยนเรศวรของประชาชนในพื้นที่ที่ให้บริการภาคเหนือตอนล่าง. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร).

พรทิพย์ พิมลสินธุ์. (2560). สื่อประชาสัมพันธ์.ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ (หน่วยที่ 13). (พิมพ์ครั้งที่ 9) นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พัชนี เชยจรรยา. (2558). การวิจัยเชิงปริมาณทางนิเทศศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิทยาธร บุญวรรณ์. (2559). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาของประชากรในกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(1), 46-52.

รุ่งนภา พิตรปรีชา. (2562). สื่อประชาสัมพันธ์และสื่อโฆษณาในยุคดิจิทัล.ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักการประชาสัมพันธ์และโฆษณา (หน่วยที่ 12). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วนิดา รำไพกุล. (2550). อิทธิพลของการรับรู้ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงกับการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมปลาย จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2553). การประชาสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุไร พงษ์ทองเจริญ. (2551). Oxford word power dictionary for Thai learners ฉบับอังกฤษ-ไทย ในวิสาหกิจชุมชนไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง.

สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2561). สถิติจำนวนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ปี พ.ศ. 2557-2561. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2564). รายงานจำนวนการเข้าถึงเพจเฟซบุ๊กของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ปี พ.ศ. 2562-2564. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2556). การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Baran, S. J., and Davis, D. K. (2006). Mass communication theory. (4th ed). California: Thomson Wadsworth.

Cutlip, S. M., Center, A. H., and Broom, G. M. (2013). Effective public relations. (11th ed). New Jersey: Pearson Prentice-Hall.

Klapper, J.T. (1960). The effects of mass communication. New York: Free Press.

Kotler, P. (2016). Marketing management. (15th ed). New Jersey: Pearson Prentice-Hall.

Schiffman, L.G., and Kanuk, L. L. (2007). Consumer behavior. (9th ed). New Jersey: Pearson Prentice-Hall.