การศึกษาอาหารในประเทศไทยไปสู่ฐานวิถีชีวิตใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
อาหาร เป็นปัจจัยพื้นฐานหนึ่งในการดำรงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และ วัฒนธรรม รวมไปถึง วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม การศึกษาอาหารในประเทศไทยให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องเป็นลำดับแรกและการผลิตในห่วงโซ่อาหารเป็นลำดับที่สอง การศึกษาอาหารไทยในปัจจุบันมีการนำเนื้อหาสาระ ทักษะและการปฏิบัติผ่านการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้เลือกศึกษา การศึกษาอาหารในมุมมองใหม่เกี่ยวข้องกับมิติการดูแลสุขภาพ มิติการผลิตอาหาร มิติการกระจายอาหาร มิติสังคม วัฒนธรรม นันทนาการ และมิติการวิจัย นวัตกรรมอาหาร อย่างไรก็ตามผลของการระบาดไวรัสโคโรนากระทบต่อสถานการณ์อาหารและการศึกษาอาหารในประเทศไทยที่ต้องปรับฐานการเรียนรู้เดิมไปสู่ฐานการเรียนรู้ใหม่เพื่อให้รองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีชีวิตใหม่ที่ดำรงได้ด้วยการศึกษาอาหารในประเทศไทยตลอดชีวิต บทความนี้อธิบายการศึกษาอาหารในประเทศไทยในปัจจุบันที่มีเนื้อหาสาระเน้นตามช่วงวัยของผู้เรียน การเปลี่ยนแปลงการศึกษาอาหารไปสู่มุมมองอาหารในมิติต่าง ๆ จากผลของโควิด แล้วนำเสนอแนวทางการศึกษาอาหารในประเทศไทยภายหลังปรับเข้าสู่ฐานวิถีชีวิตใหม่เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นแนวทางในการนำไปใช้ปรับการศึกษาและประกอบอาชีพตามอัธยาศัยมากขี้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่, สุพจน์ บุญแรง, วิศนี สุประดิษฐอาภรณ์, กัญจน์พัชร์ บุญธรานุรักษ์, ภัทธนาวรรณ์ ฉันท์รัตนโยธิน, อัยริญป์ เจนเจริญโภไคย,..., ปิลันธสุทธิ์ สุวรรณเลิศ. (2563). การบริหารจัดการหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาบัณฑิตและท้องถิ่น. พิฆเนศวร์สาร, 16(2), 11-26.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 1-21.
พระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 125 ตอนที่ 31 ก หน้า 39-46.
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. (2522). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 96 ตอนที่ 79 ก ฉบับพิเศษ หน้า 1-28.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, คณะเทคโนโลยีการเกษตร, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. (2562). หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หลักสูตรปรับปรุง 2563. เชียงใหม่: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ราชบัณฑิตยสภา. (2563). ราชบัณฑิตยสภาบัญญัติศัพท์ new normal. สืบค้นจาก https://www.newtv.co.th/news/55081
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาคหกรรม สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ. กรุงเทพ ฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2564). ระบบฐานข้อมูลหลักสูตร CHECO. สืบค้นจาก http://202.44.139.57/checo/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพ ฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา. (2551). หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
Forbes Thailand. (2021). ส่อง เทรนด์สายสุขภาพ ปี 2022 หยิบอะไรลงตะกร้ากันบ้าง. Retrieved from https://forbesthailand.com/world/americaส่อง-เทรนด์สายสุขภาพ-ปี-2022.html-2022.html
Food Pack Asia. (2021). เทรนด์สุขภาพด้านอาหารและโภชนาการที่น่าจับตามองในปี 2022. Retrieved from https://www.foodpackthailand.com/เทรนด์สุขภาพ-มาแรง/
Hingston, P., Garcia-Torres, R., and Mannan, V. (2021). Virtual and in-person learning and learning activities for core food science courses. Journal of Food Science Education, 20, 72-75.
Pacheco, S. A. (2020). The “new normal” in education. Prospects. Retrieved from https://link.springer.com/article/10.1007/s11125-020-09521-x
Tria, J. Z. (2020). The COVID-19 pandemic through the lens of education in the Philippines: The new normal. International Journal of Pedagogical Development and Lifelong Learning, 1(1), 1-4.
United Nations. (2020). Policy brief: Education during COVID-19 and beyond. Retrieved from https://www.un.org/development/desa/dspd/wp-content/uploads/sites/22/2020/08/sg_policy_brief_covid-19_and_education_august_2020.pdf