การศึกษาดนตรีไทยร่วมสมัย กรณีศึกษาคณะบ้านลุ่มแบนด์

Main Article Content

ศรัณย์ ส่งทวน
วีระ พันธุ์เสือ

บทคัดย่อ

การศึกษาวงดนตรีไทยร่วมสมัย คณะบ้านลุ่มแบนด์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบริบท และการประสมวงรวมทั้งบทเพลงอันเป็นเอกลักษณ์ของวง ผลการศึกษาพบว่า วงดนตรีไทยร่วมสมัย คณะบ้านลุ่มแบนด์ เกิดขึ้นจากแนวคิดในการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ว่าจ้างงานในงานต่าง ๆ โดยสมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้อง ซึ่งปัจจุบันมีนางสาววราภรณ์ ชมกลิ่น ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าวง และมีบทบาททางสังคม 2 ด้านด้วยกัน คือ ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม และด้านการช่วยเหลือสังคม ทั้งนี้ยังมีการจัดการบริหารวงดนตรี 4 ด้านตามหลักการบริหาร 4 M คือ ด้านการบริหารบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านการจัดการอุปกรณ์ และด้านการบริหารจัดการ ทางด้านการประสมวง มีการนำเครื่องดนตรีตะวันตกมาบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีไทย มีรูปแบบการจัดวงดนตรี 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบขนาดเล็ก รูปแบบขนาดกลาง และรูปแบบขนาดใหญ่ มีการแบ่งประเภทบทเพลงออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เพลงไทยแบบฉบับ เพลงที่นำทำนองเพลงไทยแบบฉบับมาใช้ และเพลงไทยสมัยนิยม ซึ่งบทเพลงที่นำมาวิเคราะห์เป็นบทเพลงที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างจากต้นฉบับ กล่าวคือ มีการใช้เครื่องดนตรีไทยในการบรรเลงค่อนข้างมาก และนิยมนำมาบรรเลงบ่อยครั้งเมื่อมีการแสดง ได้แก่ เพลงโหมโรงไอยเรศ เป็นบทเพลงที่มีการพัฒนาในรูปแบบวงดนตรีไทย มีการใช้คีย์บอร์ดเป็นเครื่องดำเนินคอร์ดและบรรเลงทำนองบ้างในบางครั้ง เพลงฝนนี้ เป็นบทเพลงที่มีการดัดแปลงให้แตกต่างจากต้นฉบับ คือนำเครื่องดนตรีไทยมาบรรเลงตามโน้ตเพลงไทยแบบฉบับ และเพลงเทพธิดาผ้าซิ่น เป็นบทเพลงที่ให้ความสำคัญกับเครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีตะวันตกเป็นเครื่องดนตรีที่สนับสนุนเสียงของดนตรีไทย  โดยเมื่อมีการบรรเลงร่วมกันจะมีการเทียบเสียงของเครื่องดนตรีไทย
ให้ตรงกับเสียงของเครื่องดนตรีตะวันตกในบันไดเสียง Bb Major ทุกบทเพลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปัญญา รุ่งเรือง. (2546). ประวัติการดนตรีไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช จำกัด.

เพชรลดา เทียมพยุหา. (2556). การศึกษาดนตรีร่วมสมัย กรณีศึกษาวงกำไล. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ).

ภคมน แสงมังคละ. (2548). การศึกษาการถ่ายโยงวัฒนธรรมทางดนตรีวงเครื่องสายประสมออร์แกน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาดนตรีชาติพันธุ์วิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

อานันท์ นาคคง. (2556). การศึกษาดนตรีร่วมสมัยและผลงานดนตรีร่วมสมัย ในสังคมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.