ภาพแทนสตรีในวรรณคดีไทยเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน”
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพแทนสตรีในวรรณคดีไทยเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” การศึกษานี้ผู้วิจัยได้นำแนวคิดภาพแทนมาใช้ในการศึกษาและเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าผู้ประพันธ์สร้างภาพแทนสตรี 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) สตรีกับความเป็นแม่ นำเสนอให้สตรีแสดงบทบาทหน้าที่ความเป็นแม่ที่ดีตามขนบของสังคม 2) สตรีกับความเป็นเมีย นำเสนอให้สตรีมีคุณลักษณะเป็นเมียที่ดีและเมียที่ผิดไปจากขนบของสังคม 3) สตรีในฐานะเป็นวัตถุทางเพศ นำเสนอให้สตรีเป็นวัตถุทางเพศผ่านสรีระความเป็นหญิง และเป็นเครื่องบำบัดความใคร่ของผู้ชายภายใต้โครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ 4) สตรีกับความเป็นอื่นในสังคม นำเสนอให้สตรีมีความสัมพันธ์ที่ผิดไปจากขนบของสังคมและความเป็นหญิง และนำเสนอให้สตรีเป็นคนชายขอบทางชาติพันธุ์ การสร้างภาพแทนสตรีในวรรณคดีไทยเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” เป็นการสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่ทัดเทียมกันระหว่างเพศ ทำให้สตรีมีสถานะที่ด้อยกว่าผู้ชายทั้งในด้านสังคม การเมือง และวัฒนธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ. (2552). นัยทางการเมืองในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ขุนช้างขุนแผน ฉบับชำระใหม่. (2559). กรุงเทพฯ: แสงดาว.
จีราภา สตะเวทิน. (2554). ภาษาแสดงการครอบงำในนิตยสารของไทยมุมมองจากผู้ชายและผู้หญิง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2556). สามนางพลัดถิ่นในเรื่องขุนช้างขุนแผน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิยาลัยศิลปากร, 10(2), 19-29.
ชุมสาย สุวรรณชมพู. (2534). การศึกษาเปรียบเทียบเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณสำนักพระนครกับฉบับสำนวนอื่น. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ณรงค์ศักดิ์ สอนใจ. (2545). การเปรียบเทียบวรรณกรรมดัดแปลงเรื่องขุนช้างขุนแผน. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2528). หลังม่านวรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: เทียนวรรณ.
ธนกร เพชรสินจร. (2557). วิเคราะห์ตัวละครชายขอบในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน: อำนาจ พื้นที่ และการเมืองในวรรณกรรมไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 6(2), 1-24.
นัทธนัย ประสานนาม. (2551). ศิลปะแห่งการสร้างอารมณ์โศกในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. วารสารมนุษยศาสตร์, 15(1), 27-39.
พีระพันธุ์ บุญโพธิ์แก้ว. (2532). วิเคราะห์พฤติกรรมของพระเวสสันดร พระลอ ขุนแผน และอิเหนาตามแนวจริยศาสตร์. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, วิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก).
วรรณธิรา วิระวรรณ. (2560). ภาพเชิงบวกและภาพเชิงลบของขุนแผน : ค่านิยมกับความจริง กรณีศึกษาเสภาเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” สำนวนรัชกาลที่ 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 1-36.
วิเชียร เกษประทุม. (2558). เล่าเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เรืองแสงการพิมพ์.
สมเกียรติ ตั้งนโม. (2549). มองหาเรื่อง: วัฒนธรรมทางสายตา. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุทธิชัย หวันแก้ว. (2546). กระบวนการกลายเป็นคนชายขอบ. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการศึกษาวิจัยแห่งชาติ.
สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2548). วาทกรรม ภาพแทน อัตลักษณ์ วรรณคดีศึกษาในบริบทสังคมและวัฒนธรรม 2. สืบค้นจาก http://www.phd-lit.arts.chula.ac.th/Download/discourse.pdf
สุรีรัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2541). การควบคุมทางสังคมด้วยการให้รางวัลและการลงโทษในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, วิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
เสนาะ เจริญพร. (2546). ภาพเสนอผู้หญิงในวรรณกรรมไทยช่วงทศวรรษ 2530: วิเคราะห์ความโยงใยกับประเด็นทาง
สังคม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์. (2544). สถานภาพและบทบาทของผู้หญิงและผู้ชายไทยในอดีต: ภาพสะท้อนจากวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน. (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชามนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร).
อรทัย เพียยุระ. (2563). เพศสภาวะและเพศวิถีในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(3), 20-33.