การใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ความสามารถในการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ 2) ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษหัวข้อใดที่นักศึกษาจำเป็นต้องปรับปรุง และ 3) นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้หรือไม่ กลุ่มเป้าหมายเป็น นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1/2561 ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 164 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบทดสอบความสามารถ จำนวน 36 ข้อคำถาม 8 หัวข้อคือ Tense, Part of Speech, Relative Pronoun, Quantity Word, Verb or Adjective, Adjective or Adverb, Infinitive or Gerund Verb และ Translation ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่า นักศึกษาผ่านที่คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไป จำนวน 38 คน (23.17%) จากทั้งหมด 164 คน และเมื่อพิจารณารายหัวข้อ จำนวนนักศึกษาที่ผ่าน มีดังนี้ Tense 9 คน (5.49%) Part of Speech 87 คน (53.05%) Relative Pronoun 89 คน (54.27%) Quantity 127 คน (77.44%) Verb or Adjective 28 คน (17.07%) Adjective or Adverb 91 คน (55.49%) Infinitive or Gerund 103 คน (62.80%) และ Translation 31 คน (18.90%) ในจำนวน 8 หัวข้อนี้ มี 3 หัวข้อที่นักศึกษาจำนวนมากไม่ผ่านการทดสอบ คือ Tense 94.51% Verb or Adjective (82.93%) และ Translation (81.10%) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่านักศึกษาเหล่านี้จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมและทำความเข้าใจการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษและผู้สอนจำเป็นต้องหาวิธีการสอนที่ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้ภาษาอังกฤษได้เหมาะสม สามารถจำรูปแบบได้ และฝึกการใช้ภาษาอังกฤษในสถานที่จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
DRU academic section. (2015-2017). Grade for English structure, semester 1/2015, 1/2016 and 1/2017). Retrieved from https://reg.dru.ac.th/registrar/login.asp
Ellis, R. (2006). Current issues in the teaching of grammar: An SLA perspective. TESOL Quarterly, 40(1), 83-107.
Graham, S. (2008). Why Thai students do not like learning English. Retrieved from http://www.steves-english-zone.com/archived-news/173-why-thai-students- do-not-like-learning-english.html
Khumphee, S., & Yodkamlue, B. (2017). Grammatical errors in English essays written by Thai EFL undergraduate students. Journal of Education Mahasarakham University, 11(4), 139-154.
Noom-ura, S. (2013). English-teaching problems in Thailand and Thai teachers’ professional development needs. English Language Teaching, 6(11), 139-147.
Saengboon, S. (2017). English grammar and Thai university students: An insurmountable linguistic battle?. Canadian Center of Science and Education, 11(11), 22-36.
Srinon, U. (2019). Perceptions of grammatical items by Thai EFL students in an English grammar foundation course. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(5), 695-710.
Srisuruk, P., & Siri, P. (2018). Pragmatic competence in sensitive situations in English by Thai university students (A ase study of business English and tourism industry students from Dhonburi Rajabhat University). Dhonburi Rajabhat University Journal, 12(2), 110-126.
Sukasame, N., Kantho, S. and Narrot, P. (2014). A study of errors in learning English grammatical structures on tenses of Matthayomsuksa 4 students of the demonstration school, KhonKaen university. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/269846153_A_Study_of_Errors_in_Learning_English_Grammatical_Structures_on_Tenses_of_MatthayomSuksa_4_Students_of_the_Demonstration_School_KhonKaen_University
Wiens, K. (2012). I won’t hire people who use poor grammar: Here’s why. Retrieved from https://hbr.org/2012/07/i-wont-hire-people-who-use-poo