กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนบนพื้นฐานของศาสตร์พระราชา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในบรรดาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ความยากจนของประชาชนอาจถูกพิจารณาได้ว่าเป็นอุปสรรคที่มีความสำคัญมากที่สุด ความยากจนที่ตัวเงิน (Income Poverty) เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจเพราะคนขาดกำลังซื้อ ในขณะที่ความยากจนที่ตัวคน (Human Poverty) เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการผลิตเพราะคนขาดทักษะ ความรู้ความสามารถ และมีปัญหาด้านสุขภาพเนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาพยายามหาและใช้มาตรการต่าง ๆ นานา ในการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน แต่ผลการแก้ปัญหากลับกลายเป็นการเพิ่มปัญหา กล่าวคือ คนรวยยิ่งรวยขึ้น ในขณะที่คนจนกลับจนลง
สิ่งที่นำเสนอในบทความนี้ คือบทวิเคราะห์บริบทความยากจนในประเทศไทย เริ่มต้นด้วยการทบทวนสถานการณ์ความยากจนและสาเหตุของความยากจน จากนั้นจึงเป็นการวิเคราะห์ความสำเร็จ/ความล้มเหลวของการแก้ปัญหาและเหตุปัจจัย ผลการวิเคราะห์สามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่าการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเพราะ (1) ความไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าสาเหตุแห่งความยากจนคืออะไร (2) มาตรการในการแก้ปัญหาไม่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย (3) ประชาชนขาดการมีส่วนร่วม และ (4) ยึดติดทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ
การจะแก้ปัญหาความยากจนให้ประสบผลสำเร็จต้องมีการปรับเปลี่ยนมาตรการต่าง ๆ ดังกล่าวให้มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้มากที่สุด ผลจากการศึกษานี้ได้พัฒนากลยุทธ์ในการแก้ปัญหาความยากจนบนพื้นฐานของศาสตร์พระราชา 8 กลยุทธ์ ดังนี้ (1) กลยุทธ์ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” (2) กลยุทธ์การพัฒนาด้วยการบูรณาการ “ศาสตร์ชาวบ้าน” กับ “ศาสตร์สากล” (3) กลยุทธ์การสร้างความสมดุลระหว่าง “ภูมิกายภาพ” และ “ภูมิสังคม” ในพื้นที่ (4) กลยุทธ์การแก้ปัญหาด้วยการมองแบบองค์รวม (5) กลยุทธ์การแก้ปัญหาความยากจนด้วยการแก้ปัญหา “ความยากจนที่ตัวคน” มากกว่า “ความยากจนที่ตัวเงิน” (6) กลยุทธ์การแก้ปัญหาความยากจนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (7) กลยุทธ์การแก้ปัญหาความยากจนโดยให้ประชาชนในชุมชนเป็นเสาหลัก และ (8) กลยุทธ์การแก้ปัญหาความยากจนด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ชาติชาย รูปงาม. (2555). แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/327036
ธนพล สราญจิตร์. (2558). ปัญหาความยากจนในสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(2), 12-21.
พอเพียง. (ม.ป.ป.). ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นจาก https://www.porpeang.org/blog
มนัส สุวรรณ. (2549). ชนบทกับปัญหาความยากจน: มุมมองเชิงนิเวศวิทยามนุษย์. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 31(ตุลาคม-ธันวาคม), 1137-1149.
มนัส สุวรรณ, สมาน ฟูแสง, ณรงพันธ์ ฉุนรัมย์, วรพล วัฒนเหลืองอรุณ และชนม์ธนัช สุวรรณ. (2562). กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนบนพื้นฐานของศาสตร์พระราชา. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ลัฐกา เนตรทัศน์. (2563). อาเซียนกับการขจัดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ: อุปสรรคจากโควิด-19. สืบค้นจาก https://lawforasean.krisdika.go.th/File/files/article_1_May_ASEANpovertyissue.pdf
ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2555). สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศไทย. วารสารนักบริหาร, 32(1), 1-8. สืบค้นจาก https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_mar_12/pdf/aw01.pdf
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2564). ลดความเหลื่อมล้ำ นำไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.pier.or.th/abridged/2021/06/
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2564). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง รูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้า. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. สืบค้นจาก https://www.senate.go.th/document/Ext26018/26018104_0003.PDF
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.). (2561). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.). (2564). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ปี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.