การศึกษาประเพณีของชาวไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

อิสริยาภรณ์ แสงปัญญา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชุมชนชาวไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) ศึกษาองค์ความรู้ประเพณีและวัฒนธรรมชาวไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. ผู้นำชุมชน 2. บุคคลและผู้สูงอายุในหมู่บ้านที่ทราบถึงความเป็นมาของชุมชน วิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เครื่องมือในการวิจัยคือ 1. แบบสัมภาษณ์ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน บุคคลในชุมชนเพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับประเพณีของชาวไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. แบบสังเกตพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคนในชุมชน 3. แบบบันทึกข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา  


            ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. บริบทชุมชนชาวไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีประเพณี วัฒนธรรมที่ผูกพันกับพุทธศาสนาและยังรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิม เช่น ภาษา การแต่งกาย 2. ประเพณีและวัฒนธรรมชาวไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่พบได้แก่ รูปแบบที่ 1 ประเพณีตามเทศกาล คือ ประเพณีที่ชาวไทใหญ่มีการอิงตามเทศกาลและเดือนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ของชาวไทย และรูปแบบที่ 2 ประเพณีตามปฏิทินไทใหญ่ คือ ประเพณีที่มีการปฏิบัติพิธีกรรมและพุทธศาสนกิจในรอบ 12 เดือน ของชาวไทใหญ่เพื่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของสังคมไทใหญ่และไทยพื้นเมือง โดยมีวัดเป็นพื้นที่ศูนย์กลางประกอบพิธีกรรมและเป็นสื่อกลางของการสื่อสารความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

BoonChaloi, Y. (2014). Study report on knowledge management based on Tai Yai culture to increase value and develop into a Tai Yai Studies Institute. Retrieved from https://issuu.com/jadesada/docs/thec_08_5 [In Thai]

Boonmadhya, R., Vitaporn, S., and Promdung, P. (2003). An exploration of the status of knowledge about the social and cultural life of ethnic groups. Mekong: The case of the Union of Burma. Retrieved from https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/181218 [In Thai]

Chandang, A. (2003). Belief rituals: The learning process for the self-reliance potential of rural communities: Case-specific study of Ban Yang Luang community, Tha Yang Subdistrict, Mae Chaem District, Chiang Mai Province. Bangkok: Thammasat University. [In Thai]

Kantama, S. (1999). Retention of Tai local culture. Chiang Mai: Graduate School, Chiang Mai University. [In Thai]

Khanthapat, P., and Mahakhan, N. (2015). Modifying the traditions, rituals, beliefs and identities of the Tai Yai people in Chiang Mai. Academic Journal of the Faculty of Humanities and Social Sciences, 3(41), 79-99. [In Thai]

Rupin, S. (2008). Religions institution and maintenance of identity: A case study of Tai Khuen Temples in Kengtung, Shan State, Myanmar. Chiang Mai: Graduate School, Chiang Mai University. [In Thai]

Srirattanabal, T. (2010). Creating a Tai Yai through interaction between a large group of older and newer Thais. Chiang Mai: Graduate School, Chiang Mai University. [In Thai]

Sunthonworajit, B. (2004). Pai District. Mae Hong Son Provincial Cultural Office. Retrieved from https://www.m-culture.go.th/maehongson/more_news.php?cid=31 [In Thai]

Lan Na Tai Ethnic Learning Center Institute of Social Research, Chiang Mai University. (2015). Tai Yai. Chiang Mai: Institute of Social Research, Chiang Mai University. Retrieved from http://site.sri.cmu.ac.th/~lelc/index.php/2015-11-18-16-02-19 [In Thai]

Tejanyana, P. (2018). Guidelines for preserving the identity of Tai Yai ethnic monks in Mae Hong Son province. (Ph.D. thesis, Department of Buddhism, Maha Chulalongkorn University). [In Thai]