การเพิ่มศักยภาพและทักษะของทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้และความสามารถในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กาญจนา สุระ
ภัทรกมล รักสวน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพของบุคลากรในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วม 2) เพื่อพัฒนาการยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถของบุคลากรในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยของงานวิจัยได้แก่ ผู้นำชุมชน และชาวบ้านตำบลป่าเมี่ยงจำนวนรวมทั้งสิ้น 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


ผู้นำชุมชน และประชาชนตำบลป่าเมี่ยง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 51–60 ปี และมีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า ทำให้ไม่มีความรู้ในเรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนการบริหารจัดการกลุ่ม รวมไปถึงไม่มีความรู้และทักษะภาษาอังกฤษ จึงมีความต้องการพัฒนาตนเองเพื่อการสร้างงาน เพิ่มรายได้ และรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยว


จากข้อมูลของชุมชนทำให้มีการดำเนินการยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถของบุคลากรในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว โดยการรวบรวมข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในชุมชน เรียบเรียง ออกแบบเนื้อหาภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง แล้วสร้างเว็บแอพพลิเคชั่นเพื่อเผยแพร่ข้อมูล http://www.routepamiang.com/2022/index.php และจัดอบรมความรู้ด้านการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ 1) การให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 2) การให้ความรู้เรื่องการจัดการกลุ่ม เพื่อสนับสนุนให้การทำงานด้านการท่องเที่ยวมีประสิทธิภาพ


การเพิ่มศักยภาพและทักษะของทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้และความสามารถในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ หากมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ได้แก่ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพของบุคลากรในการจัดการการท่องเที่ยว 2) การดำเนินการยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถของบุคลากรโดยพิจารณาความต้องการ ความจำเป็น การสร้างงาน รวมถึงการเพิ่มรายได้ และ 3) การเสนอแนวทางในการยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ได้แก่ การบริหารจัดการ การพัฒนาบุคคล การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ การประชาสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมของชุมชน และการสร้างจิตสำนึกของชุมชน เพื่อการจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chanin, O., Areekul, P., Phoom, J., Inklam, S., and Duangjinda, P. (2017). Empowerment process for community base tourism management practices learning participation for support community base tourism Amod, Tamod District, Phattalung Province. Retrieved from https://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/

/2554 [In Thai]

Choosrichom, J., Srirat, P., and Saejen, N. (2016). A study of potential health promotion tourism: A case study at Hot Springs Parks, Wanghin Sub-District, Bang khan District, Nakhon Si Thammarat Province, Thailand. Silpakorn University Journal, 35(3), 91-114. [In Thai]

Chuamaungphan, N. (2018). Tourism patterns in tourist attractions for the development of revisit tourism destinations in Nakhon Pathom province and its linkage areas. Journal of Humanities and Social Sciences Surin Rajabhat Universiry, 20(2), 53-58. [In Thai]

Cronbach, L.J. (1970). Essentials of psychological testing. (3rd ed). New York: Harper and Row.

Global Wellness Institute. (2018). Health tourism economy. Retrieved from https://pmuc.or.th/wp-content/

uploads/2021/10/Policy-Brief-Vol-06.pdf [In Thai]

Jongwutiwes, N. (2010). Factors affecting the success of community business management in Mueang District, Roi-et Province. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 4(2), 103 – 111. [In Thai]

Ministry of Tourism & Sports. (2023). Domestic tourism statistic (Classify by region and province 2022). Retrieved from https://www.mots.go.th/news/category/657 [In Thai]

Office of the National Economic and Social Development Council. (2022). The thirteenth national economic and social development plan (2023 - 2027). Retrieved from https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13 [In Thai]

Office of the Non-Formal and Informal Education: NFE of Pamiang Subdistrict, Doi Saket District, Chiang Mai. (n.d.). Pamiang history. Retrieved from https://sites.google.com/a/cmi.nfe.go.th/nfepamiang/aboutus/history [In Thai]

Office of the Secretary of the National Strategy Committee. (2018). Tourism. Retrieved from http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2019/04/05-Tourism.pdf [In Thai]

Onkhum, V. (2021). Potential for managing community enterprise groups case study of occupational groups weaving of Reed Mats Tawan Seethong, Tha Seaw Village, Sa at Sub-district, Pho Chai District, Roi Et Province. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(6), 255-270. [In Thai]

Saiduang, P. (2017). The study on the needs of English language communication for conservative tourism of homestay tourism groups: A case study of Ban Sasom Village, Khong Chiam District, Ubon Ratchathani Province. Humanities and Social Sciences Journal, Ubon Ratchathani Rajabhat University, 8(1), 284-300. [In Thai]

Somabut, A. (2018). Constructionism. Retrieved from http://www.finding.co.th/it-solutions/human-resources-hr/14-it-solutions/human-resources-hr/85-constructivist-theory.html [In Thai]