การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “อาหารไทยที่ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ” สำหรับนักศึกษาชาวเวียดนาม

Main Article Content

ศุภกานต์ มาลยาภรณ์
สุภัค มหาวรากร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “อาหารไทยที่ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ” สำหรับนักศึกษาชาวเวียดนาม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชาวเวียดนามหลังการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเป้าหมายการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาชาวเวียดนาม ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 เอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยดานัง วิทยาเขตภาษาต่างประเทศ (University of Foreign Language Studies – The University of Danang) จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หนังสืออ่านเพิ่มเติมอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “อาหารไทยที่ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ” สำหรับนักศึกษาชาวเวียดนามและแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมอิเล็กทรอนิกส์เรื่องนี้ ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “อาหารไทยที่ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ” สำหรับนักศึกษาชาวเวียดนาม มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 = 88.56/85.3 อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (E1/E2 = 75/75) และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักศึกษาชาวเวียดนามหลังจากใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมอิเล็กทรอนิกส์ (μ) = 4.57 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก แสดงว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมอิเล็กทรอกนิกส์ เรื่อง “อาหารไทยที่ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ” สำหรับนักศึกษาชาวเวียดนามช่วยเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาไทยและพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของอาหารไทยได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bush, A. (n.d.). Top 10 foods to try in Thailand. Retrieved from https://www.bbcgoodfood.com/howto/guide/top-10-dishes-try-thailand

Bernard, G. (2021, April 14). The world's 50 best foods. Retrieved from https://edition.cnn.com/travel/article/world-best-food-dishes/index.html

Department of Cultural Promotion. (2015). Knowledge and practice about nature and the universe: Intangible cultural heritage of Thailand. Bangkok:The War Veterans Organization of Thailand under Royal Patronage of His majesty the King. [In Thai]

Hiranpat, P. (2005). Intercultural communication and second language learning. Journal of Language and Culture, 24(1), 82-92. [In Thai]

Mahavarakorn, S. (2022). Constructing culture-based reading materials to improve reading skill of the Vietnamese students. Liberal Arts Review, 17(2), 147. [In Thai]

National Food Institute. (2012). A case study of Vietnam for strategic planning of Thai food Industry under the ASEAN Economic Community. Bangkok: Ministry of Industry. [In Thai]

Nuengchaloem, P. (2013). Teaching research. Bangkok: Chulalongkorn University. [In Thai]

Phadung, M. & Dueramae, S. (2018). A development of interactive e-book for Thai language learning of students using Malay Dialect as a mother tongue in three southern border province. Journal of Yala Rajabhat University, 14(3), 318-327. [In Thai]

Phromwong, C. (2013). Efficiency testing of instructional media. Journal of Fine Arts Education Research, 5(1), 7-20. [In Thai]

Ruangrong, P. (2014). Development of e-book on tablet PC. Bangkok: SE-ED. [In Thai]

The Secretariat of the Cabinet. (2019). Cultural promotion announcement on intangible cultural heritage list. Royal gazette, 136(195), 4-5. Retrieved from https://www.m-culture.go.th/phetchabun/download/article/article_20210303135930.pdf [In Thai]

Thu, N. T. P. (2022). Developing supplementary electronic book on Thai culture in flower idioms for Vietnamese students. (Master’s thesis, Srinakharinwirot University). [In Thai]

Wongpinunwattana, W. (2019). Thai language usage in cross-cultural communication process of foreigner students. Journal of Language, Religion and Culture, 8(1), 1-15. [In Thai]