การใช้ภาษาความเปรียบในตัวละครวรรณคดีไทยเรื่อง เสภาขุนช้างขุนแผน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้ภาษาความเปรียบในตัวละครวรรณคดีไทยเรื่องเสภาขุนช้างขุนแผน และเพื่อวิเคราะห์สุนทรียรสที่ปรากฏในวรรณคดีไทยเรื่องเสภาขุนช้างขุนแผน ผู้วิจัยประยุกต์ใช้แนวคิดโวหารภาพพจน์อุปมา โวหารภาพพจน์อุปลักษณ์ และสุนทรียรสวรรณคดีไทย 4 ประเภท ได้แก่ เสาวรจนี นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง และสัลลาปังคพิไสย และนำเสนอผลโดยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่าวรรณคดีไทยเรื่องเสภาขุนช้างขุนแผน ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2555 โดยสำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร ปรากฏการใช้ภาษาความเปรียบตัวละครหลักประกอบไปด้วยตัวละครขุนช้าง พบว่ามีการใช้ความเปรียบแสดงโวหารภาพพจน์อุปมา 31 คำ โวหารภาพพจน์อุปลักษณ์ 87 คำ สุนทรียรสวรรณคดีไทยพบจากการใช้ความเปรียบในบทของตัวละครขุนช้าง ประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ เสาวรจนี 1 คำ พิโรธวาทัง 91 คำ และสัลลาปังคพิไสย 5 คำ ตัวละครขุนแผน พบมีการใช้ความเปรียบแสดงโวหารภาพพจน์อุปมา 31 คำ โวหารภาพพจน์อุปลักษณ์ 129 คำ สุนทรียรสวรรณคดีไทยพบจากการใช้ความเปรียบในบทของตัวละครขุนแผน ประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ เสาวรจนี 82 คำ พิโรธวาทัง 37 คำ และสัลลาปังคพิไสย 19 คำ ตัวละครนางวันทอง พบมีการใช้ความเปรียบแสดงโวหารภาพพจน์อุปมา 36 คำ โวหารภาพพจน์อุปลักษณ์ 127 คำ สุนทรียรสวรรณคดีไทยพบ 4 ประเภท ได้แก่ เสาวรจนี 54 คำ นารีปราโมทย์ 38 คำ พิโรธวาทัง 65 คำ และสัลลาปังคพิไสย 29 คำ และตัวละครพระไวย พบมีการใช้คำแสดงโวหารภาพพจน์อุปมา 6 คำ โวหารภาพพจน์อุปลักษณ์ 140 คำ สุนทรียรสวรรณคดีไทยพบจากการใช้คำเปรียบในบทของตัวละคร และตัวละครพระไวย ประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ เสาวรจนี 12 คำ พิโรธวาทัง 11 คำ และสัลลาปังคพิไสย 21 คำ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Boonphan, J. (2004). The comparative meaning of animals in Thai idioms. (Master’s thesis, Thammasat University). [In Thai]
Chalongdech, P. (2005). Analysis of the literary flavors appearing in Vetan tales. (Master's thesis, Thaksin University). [In Thai]
Chitchamnong, D. (1993). Aesthetics in Thai. (2nd ed.). Bangkok: KhetThai. [In Thai]
Kongkanan, W. (1979). Literature studies. Bangkok: Thai Wattana Panich. [In Thai]
Khunnam, N. (2013). Taste of Thai literature in poetry for drama "Inao". His Majesty King RAMA II. (Master’s thesis, University of Phayao). [In Thai]
Malikamas, K. (1997). Thai wisdom in Paichit literature. Bangkok: Ronue. [In Thai]
Obphaet, P. (2009). Metaphors about life in dharma books. (Master’s thesis, Chulalongkorn University). [In Thai]
Rakmanee, S. (2008). Literature. (3rd edition). Bangkok: Sai Nam Jai. [In Thai]
Raksamanee, K. (1991). An analysis of Thai literature based on Sanskrit literature theory. Bangkok: Social Science Research & Innovations. [In Thai]
Satawetin, C. (1973). Telling about Khun Chang Khun Phaen. Bangkok: Silpa Bannakarn. [In Thai]
SaeUng, R. (1995). An analysis of sad moods of characters in Thai literature titled KhunChang KhunPhaen. Phra Aphai Mani, Inao and Ramayana. (Master’s thesis, Mahasarakham University). [In Thai]
Sepa Khun Chang Khun Phaen. (2012). Bangkok: Sinlapabannakhan. [In Thai]
Tangtawee, S. (1985). Literature and introduction to Thai literature. Bangkok: Odeon Store. [In Thai]
Witoonthirasat, C. (1972). The sympathetic nature of the opposing faction in the science and art. Bangkok: Phi Ganesha. [In Thai]