การศึกษาการใช้คำวิเศษณ์ที่มีหน่วยไวยากรณ์ปรากฏร่วมในภาษาเกาหลี ของนักศึกษาชาวไทย

Main Article Content

ษมาวดี กั้งแฮ
กาญจนา สหะวิริยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้คำวิเศษณ์ที่มีหน่วยไวยากรณ์ปรากฏร่วมของนักศึกษาชาวไทยที่มีความรู้ทางภาษากลุ่มระดับกลางและกลุ่มระดับสูง กับเจ้าของภาษาชาวเกาหลี 2) เปรียบเทียบการเลือกใช้รูปแบบหน่วยไวยากรณ์ที่ปรากฏร่วมกับคำวิเศษณ์ของนักศึกษาชาวไทยกลุ่มระดับกลางและกลุ่มระดับสูง กับเจ้าของภาษาชาวเกาหลี โดยใช้แบบทดสอบจากนักศึกษาชาวไทย 139 คน และเจ้าของภาษาชาวเกาหลี 56 คน  ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาชาวไทยกับเจ้าของภาษาชาวเกาหลีมีความสามารถในการใช้คำวิเศษณ์ที่มีหน่วยไวยากรณ์ปรากฏร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกประเภท 2) เจ้าของภาษามีการเลือกใช้รูปแบบหน่วยไวยากรณ์ได้ถูกต้องในอัตราที่สูงกว่านักศึกษาชาวไทยกลุ่มตัวอย่างในทุกประเภท นักศึกษาชาวไทยกลุ่มระดับสูงมีการเลือกใช้รูปแบบหน่วยไวยากรณ์ที่ปรากฏร่วมได้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาชาวเกาหลีมากกว่ากลุ่มระดับกลาง ส่วนปัญหาการใช้คำวิเศษณ์ที่มีหน่วยไวยากรณ์ปรากฏร่วมของนักศึกษาชาวไทยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ปัญหาที่เกิดจากนักศึกษาชาวไทยสามารถเลือกใช้ไวยากรณ์ร่วมกับคำวิเศษณ์ได้ถูกต้องแต่นำไปใช้ในบทสนทนาได้ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ส่งผลให้คำตอบของนักศึกษาชาวไทยกลุ่มตัวอย่างยังคงแตกต่างกับเจ้าของภาษาชาวเกาหลี  2) ปัญหาการเลือกใช้ไวยากรณ์ที่ไม่สัมพันธ์กับคำวิเศษณ์ สาเหตุที่ทำให้นักศึกษาชาวไทยกลุ่มตัวอย่างเลือกใช้ไวยากรณ์ไม่เหมาะสมกับคำวิเศษณ์เกิดจากการที่ภาษาเกาหลีมีไวยากรณ์พ้องความหมายจำนวนมากทำให้เกิดการสับสนในการเลือกใช้ นอกจากนั้นยังมีการแทรกแซงจากภาษาแม่คือ มีการนำกฎการใช้ในภาษาไทยมาใช้กับคำวิเศษณ์ภาษาเกาหลี อนึ่งการเรียนรู้เนื้อหาทีละส่วนก็มีผลทำให้นักศึกษาชาวไทยมองไม่เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคำวิเศษณ์และไวยากรณ์ในการปรากฏร่วมกันด้วยอีกประการหนึ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Choi, H. Y. (2014). A study of acquisition of concord adverbs by Chinese learners of Korean. (Master’s thesis, Ewha Womans University).

Dursun, E. (2014). Research on the education of Korean modal adverbs for Turkish learners. (Master’s thesis, Seoul National University).

Hee, R. C. (2004). An analysis of concord adverbial construction: Downward unbounded discontinuities and indexed phrase structure grammar. The Linguistic Society of Korea, (38), 183-225.

Kim, K. H. (1996). A study on adverbials in present-day Korean. (Doctoral’s thesis, Seoul National University).

Ladnuy, K. (2013). A study on teaching method of Korean adverb of degree’s synonyms for Thai Learners. (Master’s thesis, Sookmyung Woman's University).

Lewis, M. Ed. (2000). Teaching collocation: Further developments in the Lexical Approach. Oxford: Oxford University Press.

Li, X. (2010). Research on the education of Korean modal adverbs for Chinese learners. (Master’s thesis, Seoul National University).

Mallikamas, P. (2003). The role of collocation in the development of English language skills. Pasaa Paritat Journal, (20), 62-76. [In Thai]

National Institute of the Korean Language. (2011). Research on Korean Language Education Vocabulary Content Development (Stage 2). Retrieved from https://www.korean.go.kr

Park, Y. (2018). The Effect of proficiency, residence period, and exposure time on Thai learners' understanding of Korean irony expressions. (Master’s thesis, Ewha Womans University).

Sanguansin, S. (2018). A study on the acquisition of ‘-get-’ and ‘-(eu)l geosi-’ of Thai learners of Korean. (Master’s thesis, Ewha Womans University).

Yiping, P. (2017). A study on teaching and learning conjecture modality adverbs for Chinese learners. (Master’s thesis, Seoul National University).

Yong, J. C. & Talaeyeon. (2016). Second language acquisition of Korean concord adverbs by adult Chinese speakers. Urimalgeul, (69), 121-153.

Yuan, W. (2020). A study on Korean modal adverbs education for Chinese learners. (Master’s thesis, Inha University).

Yun, J. H. (2016). A study on use aspect of Korean concord adverbs by Chinese Korean learners: based on learner’s composition. (Master’s thesis, Dongguk University).