โลกทัศน์ของชาวล้านนาที่ปรากฏในตำราส่งเคราะห์ฉบับวัดสารภี อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อนาวิล โอภาประกาสิต
ภคภต เทียมทัน
สุภาวดี เพชรเกตุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโลกทัศน์ของชาวล้านนาที่ปรากฏในตำราส่งเคราะห์ฉบับวัดสารภี อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลจากตำราเอกสารโบราณหมวดพิธีส่งเคราะห์จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ตำราส่งชน ตำราส่งหลวง ตำราส่งนพคราส ตำราส่งมหาโลกาวุฒิ และตำราส่งมิตไฟ-ส่งแถน ผลการศึกษาพบว่าโลกทัศน์ของชาวล้านนาที่ปรากฏในตำราส่งเคราะห์ฉบับวัดสารภีจำแนกได้ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านแรก คือ โลกทัศน์ด้านความเชื่อ สะท้อนให้เห็นว่า ชาวล้านนามีความเชื่อในเรื่องผี สิ่งเหนือธรรมชาติ และอำนาจลึกลับ สิ่งเหล่านี้สามารถบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ดีร้ายแก่บุคคล ครอบครัว ตลอดจนชุมชนได้ ด้านต่อมา คือ โลกทัศน์ด้านศาสนา สะท้อนให้เห็นว่า ชาวล้านนาเชื่อในอำนาจของศาสนาและเทพเจ้าว่าเป็นสิ่งที่ช่วยคุ้มครอง ป้องกัน สิ่งชั่วร้าย ตลอดจนศาสนาสามารถรักษาให้บุคคลหายจากอาการเจ็บป่วยได้ และด้านสุดท้าย คือ โลกทัศน์ด้านประเพณี สะท้อนให้เห็นว่าชาวล้านนามีธรรมเนียมในการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนกลายเป็นประเพณีประจำหมู่บ้าน ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากชาวบ้านหมู่บ้านสารภีมีความเชื่อในเรื่องตำนานเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุภาวดี เพชรเกตุ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย

 

 

References

Borrisut, P. (1980). The worldview of Thai people from didactic literature in Sukothai period. Bangkok: Thai Khadi Research Institute Thammasat University. [In Thai]

Intawong, A. and Lordee, S. (2017). Worldview analysis of Lanna people reflected through The Lanna’s nouns collected from Lanna-Thai Dictionary, Mae Fah Luang Version. Journal of Liberal Arts Maejo University, 5(2), 22-41. [In Thai]

Kaenkarn, S. (2005). Thianwan’s world views. (Master of Arts, Thai Srinakharinwirot University). [In Thai]

Krumram, P. (2013). Education the worldview in junior high school Thai subject graded readers. Bangkok: Ramkhamhaeng University. [In Thai]

Lordee, S. (2021). Lanna spirit terms: Existence and Lanna worldviews. Journal of Liberal Arts, Thammasat University, 21(1), 396-420. [In Thai]

Nanti, P. (2012). Songkroh-Songnam the ceremony of dispelling a spirit. Retrieved from https://forums.chiangraifocus.com/?topic=286210.0#gsc.tab=0 [In Thai]

Somboonanake, S. (2000). The accumulation and service manuscript Chiang Mai University library. Retrieved from https://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/viewFile/440/412 [In Thai]

Songchon. (n.d.). Songchon Manuscript. Sarapi Temple.

Songkiw. (n.d.). Songluang Manuscript. Sarapi Temple.

Songmahalokawut. (n.d.). Songmitfai-songthan Manuscript. Sarapi Temple.

Songmitfai. (n.d.). Songmitfai-Songthan Manuscript. Sarapi Temple.

Songnoppacras. (n.d.). Songnoppacras Manuscript. Sarapi Temple.

Songphihaphikrian. (n.d.). Songluang Manuscript. Sarapi Temple.

Songsoon. (n.d.). Songluang Manuscript. Sarapi Temple.

Songthan. (n.d.). Songmitfai-Songthan Manuscript. Sarapi Temple.

Suprom, T. (2006). Construction of local wisdom learning resources entitled Phithii Songkroh of Pathang Community, Khunkhuan Sub-District, Pong District, Phayao Province. (Master of Education, Teaching Thai, Chiangmai University). [In Thai]

Thailand Cultural Encyclopedia Foundation Thai The Siam Commercial Bank. (1999a). Thai northern cultural encyclopaedia 12: Lii – Songchon. Bangkok: Siam Management. [In Thai]

Thailand Cultural Encyclopedia Foundation Thai The Siam Commercial Bank. (1999b). Thai northern cultural encyclopaedia 14: Songthan– Suwannajakawattiraj. Bangkok: Siam Management. [In Thai]

Thamthi, S. (2017). Songkroh. Retrieved from https://art-culture.cmu.ac.th/Lanna/articleDetail/1422 [In Thai]

Vachiro, Phr. (2010). A critical study of the Buddhist doctrines and world view on Prayakhankhak E-San Folk-Talks. (Master of Arts, Buddhist Studies, Mahachulalongkornrajavidyalaya University). [In Thai]