“ตะโกน” ในภาษาไทยปัจจุบัน: การศึกษาหน้าที่และความหมาย

Main Article Content

ยุธิดา โฉสูงเนิน
เสาวรส มนต์วิเศษ

บทคัดย่อ

ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด จึงเอื้อให้คำหลายคำมีหน้าที่หรือความหมายเพิ่มขึ้นตามพัฒนาการการใช้ภาษาในแต่ละช่วงเวลา ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารในสังคมไทยเปิดกว้างมากขึ้น ผู้ใช้ภาษาสามารถเลือกใช้คำที่จะสื่อสารได้อย่างอิสระ ส่งผลให้คำในภาษาไทยหลายคำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่างหน้าที่และความหมายเดิมกับหน้าที่และความหมายใหม่ คำว่า “ตะโกน” ที่ปรากฏใช้ในภาษาไทยเป็นคำยอดนิยมคำหนึ่งในกลุ่มผู้ใช้ภาษาที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านหน้าที่และความหมายของคำอยู่ในบริเวณทับซ้อน


บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หน้าที่และความหมายของคำว่า “ตะโกน” ที่ปรากฏใช้ในภาษาไทยปัจจุบัน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือค้นหาของ https://www.google.co.th ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 ได้ข้อมูลที่ปรากฏคำว่า “ตะโกน” ในข้อความภาษาไทยปัจจุบันบนสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 153 ข้อความ จำแนกข้อมูลตามรูปภาษาที่ปรากฏได้ 2 รูปแบบ คือ ข้อความที่ปรากฏคำว่า “ตะโกน” จำนวน 66 ข้อความ และข้อความที่ปรากฏคำว่า “แบบตะโกน” จำนวน 87 ข้อความ ผลการศึกษาพบหน้าที่ของคำว่า “ตะโกน” จำแนกเป็น 2 หมวดคำ ได้แก่ 1 ) หมวดคำกริยา ทำหน้าที่แสดงการกระทำหรืออาการของผู้กระทำกริยา จำนวน 59 ข้อความ และ 2) หมวดคำกริยาวิเศษณ์ ทำหน้าที่ขยายกริยาหลักในประโยค จำนวน 94 ข้อความ ผลการศึกษาด้านความหมายของคำว่า “ตะโกน” พบว่ามี 2 ความหมาย ได้แก่ 1) ความหมายเดิม ซึ่งเป็นความหมายประจำคำ หมายถึง ‘ออกเสียงดังกว่าปรกติเพื่อให้ได้ยิน’ และ 2) ความหมายใหม่ที่ขยายกว้างขึ้นแต่ยังเชื่อมโยงกับความหมายเดิม หมายถึง ‘การขยายรายละเอียด หรือถ่ายทอดลักษณะ ความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในปริมาณที่มากกว่าปกติ เพื่อแสดงให้เห็นภาพตามอย่างชัดเจน หรือเห็นภาพแล้วแต่ต้องการเน้นความพิเศษเพิ่มขึ้น’ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bumroongsook, P. (1972). Polyfunctional words in the Thai language. (Master’s thesis, Department of Thai, Graduate School, Chulalongkorn University). [In Thai]

Jaratjarungkiat, S. (2015). Study of research methodology in the development of polysemes in Thai. Vannavidas, 15, 135-156. [In Thai]

Jaratjarungkiat, S. (2017). Grammaticalization of /jaŋ/. Journal of language and Linguistics, 35(2), 97 - 120. [In Thai]

Jinlert, N. (2016). Classification of words in Thai grammar: Various approaches and Theories. Vannavidas, 6, 189 - 216. [In Thai]

Meesat, P. (1997). A study of auxiliary verbs developed from verbs in Thai. (Master’s thesis, Department of Thai, Graduate School, Chulalongkorn University). [In Thai]

Motive Influence. (2022). A collection of the 20 most popular social media words of 2022, along with their origins and meanings. Retrieved from https://www.motiveinfluence.com/blog/marketing/ [In Thai]

Muangkaew, N. and Pothipath, V. (2013). The verb /kàrúnaa/ and the quantitative adverb /nɔ̀y/: The original sources of requestive markers in Thai. Vannavidas, 13, 95 - 114. [In Thai]

Nanthakanok, K. and Sukwat, B. (2019). A study in functions of the word /Khɔ̂j/ in Thai. MangRai Saan Journal, 7(1), 1 - 12. [In Thai]

Ongwuttiwat, S. (2008). “Ti” /thii/: A polyseme in contemporary Thai. Vannavidas, 8, 160 - 184. [In Thai]

Panupong, V. (2000). The structure of Thai: Grammatical system. Bangkok: Ramkhamhaeng University. [In Thai]

Phanthumetha, N. (2015). Thai grammar. (7th ed.). Bangkok: Faculty of Arts, Chulalongkorn University. [In Thai]

Phonkhunsap, S. and Dolphen, I. (2020). Grammaticalization of /hØ:t1/ in Northeastern Thai dialect. Language and Linguistics, 38(2), 1-37. [In Thai]

Rattanaphanusorn, R. (2006). Semantic extension of visual perception verbs in Thai. (Doctor of Philosophy’s thesis, Department of Linguistics, Graduate School, Chulalongkorn University). [In Thai]

Royal Institute. (2011). The royal institute dictionary 2011. Retrieved from https://dictionary.orst.go.th/ [In Thai]

Singnoi Wongwattana, U. (2012). Verbs in series in Thai: Serial verbs or others?. The Journal of Language and Culture (JLC), 31(2), 35 – 66. [In Thai]

Sompheth, S. (2020). The Semantic Extension of /kàt/ in Thai: A cognitive semantic study. Thai Language and Literature, 37(2), 1 - 36. [In Thai]

TNN Online. (2022). "Celebrities" shout out to "P'Jack" loudly at Rajamang! Mouth agape, stunned by his handsomeness. Retrieved from https://www.tnnthailand.com/news/trueinside/119128/ [In Thai]

Wareeket, K. and Pothipath, V. (2013). Grammaticalization of the noun /phǒm/. Vannavidas, 13, 1 - 17. [In Thai]

Wisesight. (2022). A collection of social media slang in 2022. Retrieved from https://wisesight.com/news/social-media-slang-2022/ [In Thai]