ภาพลักษณ์ของจักรพรรดิเฉียนหลงที่ปรากฏในภาพยนตร์และละครตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของจักรพรรดิเฉียนหลงที่ปรากฏในภาพยนตร์และละคร ตั้งแต่อดีต (ค.ศ. 1929) จนถึงปัจจุบัน (ค.ศ. 2023) โดยใช้วิธีรวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ และอภิปรายผลการวิจัยด้วยการเขียนเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) พร้อมเสนอข้อคิดเห็น
ผลการศึกษาพบว่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีภาพยนตร์และละครที่ปรากฏตัวละครจักรพรรดิเฉียนหลง รวมทั้งหมด 93 เรื่อง บทบาทและภาพลักษณ์ที่พบบ่อยมากที่สุด คือ ตัวละครหลักที่มีภาพลักษณ์บวก จำนวน 27 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 29.03 ของภาพยนตร์และละครทั้งหมด โดยมีลักษณะนิสัย เช่น จักรพรรดิผู้มีคุณธรรม มีสติปัญญา รักความสนุกสนาน มีเมตตา มีความมานะอุตสาหะ เป็นต้น ซึ่งเป็นภาพลักษณ์เดียวกับภาพลักษณ์แรกของจักรพรรดิเฉียนหลงซึ่งปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง เฉียนหลงโหยวเจียงหนาน《乾隆游江南》 ตั้งแต่ ค.ศ. 1929
จักรพรรดิเฉียนหลงปรากฏภาพลักษณ์ในภาพยนตร์และละครทั้งหมด 12 ภาพลักษณ์ ได้แก่ 1. จักรพรรดิผู้มีคุณธรรมและรักความสนุกสนาน 2. จักรพรรดิที่มีความเจ้าเล่ห์และต้องการครอบครองภรรยาของผู้อื่น 3. จักรพรรดิผู้มีความกลับกลอก ไม่รักษาคำพูด 4. จักรพรรดิผู้ไร้ความสามารถ อ่อนแอ หูเบา 5. จักรพรรดิที่เปลี่ยนแปลงจากผู้วิริยะอุตสาหะไปเป็นผู้ที่มุ่งเน้นเสพสุข 6. จักรพรรดิที่มีสติปัญญา รู้จักเลือกใช้คน 7. พ่อที่ใจดีมีเมตตา 8. เด็กหนุ่มที่ฉลาด มีสติปัญญา 9. พ่อที่เลอะเลือน หูเบา หวงอำนาจ 10. เด็กหนุ่มที่ฉลาดแต่ขี้ระแวง 11. สามีที่ขี้ระแวง ไม่เชื่อใจคนรัก 12. สามีที่ฉลาด ตลก ขี้เล่น และการปรากฏตัวที่ไม่ปรากฏภาพลักษณ์เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1993
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Gao, L. (2017). A discussion on the internal differences in the ethnic perspective of the school of "New Qing History" in the United States Talking about the different shaping of the image of Emperor Qianlong. Journal of Sino-American Humanity Studies, 1(1), 35-49. [In Chinese]
Li, G. and Lou, B. (2020). The Evolution of Qianlong's Image. From the authenticity of historical texts to the diversification of film and television expressions. Journal of Chinese Film Studies, 42(6), 56-59. [In Chinese]
Liu, H. (2014). On the Influence of Qianlong's Southern Tour on the Communication of Jiangnan's Image Focusing on paintings and imitations related to the Southern Tour. Journal of Zhejiang Gongshang University, 29(5), 41. [In Chinese]
Lü, S. (1994). General history of China. (10th ed). Beijing: Qunyan Press. [In Chinese]
Tang, W. and Luo, Q. (1994). The biography of Qianlong. Beijing: People's Press. [In Chinese]
Xiao, D. (2015). Heart of traditional Chinese cultural values. Confucius Institute of Chulalongkorn University. [In Chinese]
Xu, J. (2013). The image of Qianlong in the court paintings of the Qing Dynasty (Part 5) "Five Blessings and Five Generations Hall" - Family life of Emperor Qianlong. Financial View, 18(11), 68-69. [In Chinese]
Xu, W. (2011). Unofficial history, legendary tradition, and "Qianlong's journey to the south of the Yangtze River" in Chinese film history. Journal of Zhejiang Institute of Medial Communications, 7(10), 85-90. [In Chinese]
Ye, S. (2018). Qing Dynasty three emperor. Retrieved from https://k.sina.cn/article_6439773260_17fd7244c001008du3.html [In Chinese]