แนวทางการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสู่มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ของสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอนภายหลังสถานการณ์โควิด-19 2) ประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) ในการบริการของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ 3) เสนอแนวทางการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้ง 7 อำเภอ ตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) ที่เน้นสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดแม่ฮ่องสอนภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ประชากร ได้แก่ ผู้ประกอบการด้านการบริการของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอนทั้ง 7 อำเภอ และกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการด้านการบริการของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้ง 7 อำเภอ ที่สามารถเข้ารับการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น 814 ผู้ประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินสถานประกอบการในการเตรียมความพร้อมสู่มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) จำนวน 12 ชุด ผลการศึกษาพบว่า 1) ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอนยังคงฟื้นตัวอย่างช้า ๆ โดยจำนวนนักท่องเที่ยวยังไม่กลับมาสู่ระดับปกติ สถานประกอบการได้ปรับตัวด้วยมาตรการสุขอนามัยและการตลาดออนไลน์ ภาครัฐให้การสนับสนุนผ่านโครงการส่งเสริมและเงินช่วยเหลือ แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจยังคงส่งผลให้ธุรกิจหลายแห่งประสบปัญหาทางการเงิน 2) ผลการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย พบว่า โดยภาพรวมคุณภาพสถานประกอบการเป็นไปตามข้อกำหนดตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) คิดเป็นร้อยละ 76.90 - ร้อยละ 85.50 และผลการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) แยกตาม 10 ประเภทกิจการ ส่วนใหญ่เป็นไปตามข้อกำหนดตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) ยกเว้นประเภทบริษัทนําเที่ยว ประเภทกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว และประเภทกิจการ/จัดกิจกรรม/อีเวนท์ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานจึงควรได้รับการปรับปรุง และ 3) แนวทางการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้ง 7 อำเภอ ตามเกณฑ์มาตรฐาน (SHA) โดยจะนำเสนอเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ประกอบการที่พร้อมสมัครเข้าร่วมโครงการ SHA ควรได้รับการส่งเสริมและผลักดันให้ได้รับมาตรฐาน SHA อย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว และช่วยพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และกลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ประกอบการที่เตรียมตัวเข้าร่วมตรวจประเมิน SHA ควรได้รับการอบรมและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน SHA เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานและสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวในระยะยาว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Boonprasom, N. (2018). Development guidelines for exhibition venues in the Mice industry: A case study of venues in Bangkok. Southeast Bangkok Journal, 4(2), 93-104. [In Thai]
Chokjaraskul, K. (2020). How to manage? ‘Dangerous wastes’ silent threats in the COVID era. Retrieved from https://inews.bangkokbiznews.com/read/403237 [In Thai]
Department of Health. (2020). Measures and guidelines handbook for hygienic environments in the Corona virus 2019 pandemic (COVID-19). Bangkok: Ministry of Public Health. [In Thai]
Digital Research Information Center (DRIC). (2020). Conclusion of every issues on “Corona virus” or “COVID-19” What is it? and What are the symptoms?. Retrieved from https://dric.nrct.go.th/News/DetailKnowledge/650 [In Thai]
Johnson, A., & Lee, M. (2021). Adapting tourism businesses during the COVID-19 pandemic: Case studies and strategies. International Journal of Tourism Management, 42(1), 45-60. https://doi.org/10.5678/ijt.2021.01234
Krutwaysho, O., Yamma, Y., Srina, P., Julapan, P., Wajanakhampee, T., & Treesuk, W. (2021). Tourism development through the service marketing concept from the perspectives of Gen Y tourism travelling in Chiangmai during the COVID-19 pandemic crises during the spread. Raja park Journal, 15(41), 242-258. [In Thai]
Ministry of Tourism and Sport. (2020). Tourism situations in april 2020. Retrieved from https://www.mots. go.th/download/article/article_20200529103312.pdf?fbclid=IwAR1IDduOGE0E5VJy8CnJuVAl1J57UMnkZ2NvHUJqRFhsQ6PbotUlZ1AFxI [In Thai]
Panuwatthana, S., and Umaphorn, M. (2021). Adaptation of Thai boxing camps entrepreneurs' amid the COVID-19 Pandemic in Phuket Province. Journal of International and Thai Tourism, 17(1), 164-181. [In Thai]
Srimaca, S., & Muneenam, T. (2021). Assessment of Business Preparedness for Safety and Health Administration Standards. Journal of Tourism Management, 25(3), 123-145. [In Thai]
Tourism Authority of Thailand [TAT]. (2020). Hygienic safety standard project implementation plan: Amazing Thailand Safety & Health Administration (SHA). Bangkok: TAT. [In Thai]
Tourism Authority of Thailand. (2021). Assessment form for businesses in preparation for the Safety and Health Administration (SHA) standards. Retrieved from https://www.thailandsha.com [In Thai]
Tourism Authority of Thailand (Head office). (2022). Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA) (thailandsha.com). Retrieved from https://web.thailandsha.com/shalists?keyword=&province=58&type=1&fbclid=IwAR1s2O5s6_spLM24Al7Ebc1p_bYwHRUNEvi9AkoDHr36SMP-liVmchwgABU [In Thai]