สารัตถะและอัตลักษณ์การใช้ภาษาในบทปาฐกถาทางภาษาและวรรณกรรมไทยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

Main Article Content

รุ่งโรจน์ ต้นประดิษฐ
วรวรรธน์ ศรียาภัย
วรัญญา ยิ่งยงศักดิ์
ปาริชาต โปธิ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สารัตถะในบทปาฐกถาทางภาษาและวรรณกรรมไทยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 2) เพื่อศึกษาการใช้ภาษาโดยภาพรวมที่แสดงอัตลักษณ์ในบทปาฐกถาทางภาษาและวรรณกรรมไทยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยคัดเลือกบทปาฐกถาทางภาษาและวรรณกรรมไทยที่พลเอกเปรมได้แสดงไว้ในระหว่างปีพุทธศักราช 2537 ถึง 2541 จำนวน 5 เรื่อง จากหนังสือ แทนคุณแผ่นดินเกิด เทิดคุณค่าภาษาไทย จากนั้นวิเคราะห์จากตัวบทเป็นหลักตามแนวคิดทฤษฎีการใช้คำและถ้อยคำที่ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ขึ้น แล้วนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์


ผลการศึกษาพบว่า สารัตถะในบทปาฐกถาทางภาษาและวรรณกรรมไทยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สามารถวิเคราะห์ออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ สารัตถะด้านการใช้ภาษา และสารัตถะด้านภาษาถิ่น ด้านสารัตถะการใช้ภาษาพบว่า มีเนื้อหาเกี่ยวกับการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ภาษาไทยอย่างเหมาะสม การออกเสียงให้ถูกต้อง การใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมายและหลักไวยากรณ์ เหมาะสมแก่กาลเทศะ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมภาษาไทยในฐานะภาษาประจำชาติ เป็นสมบัติอันล้ำค่า อันแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติไทย ด้านสารัตถะภาษาถิ่น พบว่า มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสำคัญของภาษา วัฒนธรรมการรับประทานอาหาร การปลูกจิตสำนึกให้ธำรงรักษาวัฒนธรรมไทย และภาษาถิ่นภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย 


ด้านการใช้ภาษาโดยภาพรวมที่แสดงอัตลักษณ์การใช้ภาษาในบทปาฐกถาทางภาษาและวรรณกรรมไทยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สามารถแยกออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ ด้านการเลือกใช้ระดับภาษาพบว่า มีการใช้ภาษาในระดับกึ่งทางการขึ้นไปจนถึงภาษาระดับพิธีการ ด้านการใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษพบการยกตัวอย่างประกอบในการอธิบายเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ด้านการใช้รูประโยคหรือไวยากรณ์ปรากฏลักษณะเด่นด้านการใช้บุรุษสรรพนามแทนตัวผู้พูดว่า “ผม” เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 แทนผู้พูดทุกครั้ง และใช้บุรุษสรรพนามว่า “ท่านผู้มีเกียรติ  ท่านผู้ฟัง ท่านทั้งหลาย” เป็นสรรพนามแทนผู้ฟังเสมอ ด้านการใช้ย่อหน้าพบอัตลักษณ์ที่เป็นลักษณะเด่นของพลเอกเปรม ด้านการใช้หน่วยภาษาที่ใช้ขึ้นต้นย่อหน้าใน 5 ลักษณะ ได้แก่ การบอกเล่า การสรุปประเด็น การเสนอข้อมูลเพิ่มเติม การต่อความ และการใช้เนื้อหาสาระที่มุ่งกล่าว นอกจากนั้นยังพบลักษณะเด่นในการนำเสนอบทปาฐกถาแก่ผู้ฟังอย่างเป็นระบบ เป็นข้อ ๆ ทีละประเด็น ประกอบการให้เหตุผล อย่างชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anchalinukul, S. (2020). Unit 3 Words and word formation in the Thai language. In Pornpimon Nunpan (Assistant Editor), course teaching materials Characteristics of Thai language Units 1-7. (pp. 3-5 – 3-34). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University Publishers. [In Thai]

Department of Academic Affairs, Ministry of Education. (2002). Honor the value of the Thai language. (2nd ed.). Bangkok: Thai Language Institute. [In Thai]

Laksanasiri, J. & Intaraporn, W., (2015). Thai language for communication. (2nd ed.). Nakhon Pathom: Silpakorn University Publishers. [In Thai]

Lapiratanakul, W. (2000). Discourse and rhetoric: Principles of theory and practice in the new millennium. (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Publishers. [In Thai]

Lawanamarn, P. (2004). An analytical study of the style in the historical feature of M.R. Kukrit Pramoj. (Master of Arts thesis, Kasetsart University). [In Thai]

Sajjapan, R. (2018). Unit 15: Synthesizing knowledge from reading. In Manatsanun Charitngam (Assistant Editor), course teaching materials Thai reading, units 9-15. (pp. 15-36 –15-39). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University Publishers. [In Thai]

Sriyabhaya, W. (2014). Writing for communication. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Publishers. [In Thai]

Sriyabhaya, W. (2017). Speech for success: Practical principles and creative strategies. Bangkok: Chulalongkorn University Publishers. [In Thai]

Sriyabhaya, W. (2019). Reading Thai, units 1-7. unit 5: Reading, analysis and criticism. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University Publishers. [In Thai]

Thaiubun, D. (2013). Thai writing skills. (8th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Publishers. [In Thai]