การขับเคลื่อนการจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนของเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขับเคลื่อนการจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของการขับเคลื่อนการจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนของเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยวิธีการศึกษาเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 13 คน ได้แก่ บุคลากรภายในเทศบาลตำบลขี้เหล็กและตัวแทนผู้นำชุมชนในตำบลขี้เหล็กหมู่ที่ 1 – 8 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและรายงานผลการวิจัยเชิงบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลได้ขับเคลื่อนการจัดการขยะตามกฎหมาย ทิศทางการพัฒนา ปัญหาขยะชุมชนที่เพิ่มขึ้น การประชาคมหมู่บ้าน ผู้บริหารจึงกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมอบหมายให้กองสาธารณสุข กองการเกษตร จัดทำโครงการที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาขยะที่ต้นทาง การสร้างมูลค่าจากขยะตามหลักการ 3Rs คือ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ โครงการรณรงค์และคัดแยกขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด กิจกรรมส่งเสริมการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ โครงการส่งเสริมการสร้างมูลค่าจากขยะรีไซเคิล และได้ดำเนินโครงการร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภายนอก เช่น สถาบันการศึกษา บริษัทต่าง ๆ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการขับเคลื่อนการจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น และปัจจัยความล้มเหลว ได้แก่ งบประมาณในการดำเนินงานไม่เพียงพอ การขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน การขาดความต่อเนื่องและการต่อยอด และการขาดจิตสำนึกของชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Apipalakuldumrong, W. (2022). Development of solid wastes management system of local administration organization of Patumthani Province by circular economy. (Dissertation of Doctor of Philosophy, Social Development, MahachulalongKornrajavidyalaya University). [In Thai]
Aunroj, P. (2021). Good practices in participatory waste management of Wiang Thoeng Subdistrict Municipality, Thoeng District, Chiang Rai Province - turning a crisis into an opportunity. Environment Journal, 1(25), 1 – 9. [In Thai]
Bacarrini, D. (1999). The logical framework method for defining project success. Project Management Journal, 4(30), 25 – 32.
Ellen Macarthur Foundation. (n.d.). Circular economy introduction. Retrieved from https://ellenmacarthurfoundation.org/topics/circular-economy-introduction/overview
Keelek Subdistrict Municipality. (2019). Local development plan (2018 – 2022). Retrieved from http://keeleklocal.go.th/public/plan_upload/backend/plan_12_5.pdf [In Thai}
Keelek Subdistrict Municipality. (2021). Activities. Retrieved from http://keeleklocal.go.th/public/activity/data/detail/activity_id/206/menu/141 [In Thai]
Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. (2021). Mobility action plan Thailand development with the BCG economic model 2021-2027. Retrieved from https://www.bcg.in.th/bcg-action-plan/ [In Thai]
Nimpanich, J. (2011). Policy implementation: political science public administration perspectives and Thai case studies. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [In Thai]
Pollution Control Department. (2011). Guideline of waste management and waste – to - energy technologies for municipalities. Retrieved from https://www.pcd.go.th/publication/5005 [In Thai]
Pollution Control Department. (2021). The Thailand state of pollution report 2020. Retrieved from https://www.pcd.go.th/pcd_news/11873 [In Thai]
Promsaka Na Sakolnakorn, T. (2019). The guideline for promotion of circular economy program of local administrative organization for sustainable community development. (A Thesis the Degree of Master of Arts in Human and Social Development Inter, Department of Human and Social Development, Chulalongkorn University). [In Thai]
SCG Circular Way. (2019). Circular economy - new business opportunities for sustainability. Retrieved from https://www.scg.com/sustainability/circular-economy/interesting/circular-economy-is-new-chance/ [In Thai]
Thailand Institute of Scientific and Technological Research. (2019). Circular economy that everyone should know. Pathum Thani: Thailand Institute of Scientific and Technological Research. [In Thai]
The Health Promotion Foundation. (2020). Report on study results for development guidelines for driving sustainable management of solid waste from communities at source in the Mueang District area Khon Kaen Province. Retrieved from https://resourcecenter.thaihealth.or.th/index.php/article/แก้ปัญหาขยะอย่างยั่งยืนเริ่มที่ต้นทาง-ภารกิจท้าทายของเทศบาลนครขอนแก่น [In Thai]
The Office of Industrial Economics. (2020). Guidelines for the development of Thai industries according to the circular economy concept. Retrieved from https://www.oie.go.th/assets/portals/1/files/study_report/DevelopThaiIndustries_CircularEconomy.pdf [In Thai}
World Economic Forum. (2014). Towards the circular economy: Accelerating the scale – up across global supply chains. Geneva: World Economic Forum.