หนังสือแนวชีวประวัติ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์กับการสร้างชีวิตหลังมรณกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวิตหลังมรณกรรมของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ในมิติการเป็นบุคคลสาธารณะ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้กรอบแนวคิดความทรงจำวัฒนธรรมในการวิเคราะห์ชีวิตหลังมรณกรรมของพลเอก เปรม ในมิติการเป็นบุคคลสาธารณะที่ได้รับการสร้างขึ้นผ่านหนังสือแนวชีวประวัติ จำนวน 9 เรื่อง ผลการศึกษาพบการผลิตสร้างความทรงจำเกี่ยวกับ พลเอก เปรม ผ่านหนังสือแนวชีวประวัติด้วยการผลิตซ้ำเรื่องราวทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) การเป็นผู้มีความสง่างามและภาคภูมิ และ 2) การเป็นผู้มีความเมตตาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ทำหน้าที่ในการสร้างความทรงจำเกี่ยวกับ พลเอก เปรม ในฐานะทหาร ส่วนเรื่องราวอีก 3 ด้าน ได้แก่ 3) การเป็นผู้ปฏิบัติงานด้วยความทุ่มเทและเสียสละ 4) การเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตและจงรักภักดี และ 5) การเป็นผู้ทรงอิทธิพลและมีคนหนุนหลังทางการเมือง ทำหน้าที่ในการสร้างความทรงจำเกี่ยวกับ พลเอก เปรม ในฐานะนักการเมือง ทำให้เรื่องราวของพลเอก เปรม ในมิติการเป็นบุคคลสาธารณะเป็นที่จดจำของสังคม และดำรงอยู่ในการรับรู้ได้อย่างยาวนานจนถึงช่วงชีวิตหลังมรณกรรม ผลการศึกษาด้านการสร้างชีวิตหลังมรณกรรมในสื่อรูปแบบต่าง ๆ พบว่า หนังสือแนวชีวประวัติโดยเฉพาะเรื่องที่ผลิตขึ้นในช่วงเวลาภายหลังการอสัญกรรม รวมถึงพิธีรำลึกและคำไว้อาลัยเป็นสื่อที่สามารถสร้างชีวิตหลังมรณกรรมของพลเอก เปรม ให้เกิดขึ้นได้ ส่งผลให้เรื่องราวของพลเอก เปรม ถูกชุบชีวิตขึ้นอีกครั้งและสามารถดำรงอยู่ในการจดจำของสังคมได้ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Chawansilp, B. (2006). From the south to the northeast, the crystal of the life of General Prem Tinsulanonda: “Born to repay the merit of the country”. Bangkok: Matichon. [In Thai]
Chuenruthainaitham, S. (2013). Amnat Prem. (2nd ed.). Nonthaburi: Green Panyayan Publishing House. [In Thai]
Erll, A. (2011). Memory in culture. Translated by S. B. Young. Basingstoke: Palgrave Macmillan.
Kasemsan Na Ayutthaya, U. (2000). Looking at the army through the work of statesman General Prem Tinsulanonda. Bangkok: O.S. Printing House. [In Thai]
Matichon Online. (2024, February 25). “People of Songkhla” join in mourning “Gen. Prem” and remember his teachings to teach to their children and grandchildren. Retrieved from https://www.matichon.co.th/region/news_1510910 [In Thai]
Nanuam, W. (2012). I am daddy, My name is Prem: The immortal Prem. Bangkok: Post Books. [In Thai]
One For All. (2024, February 12). Retrieved from https://www.facebook.com/OneForAllDonate/about_details [In Thai]
Pinsaikaew, N., Amphonphisit, M., Chulanont, S., Kedangkoon, T., Bueangbon, O., & Aryuwat, S. (1995). Statesman named Prem. Bangkok: J. Plus Image and Publishing. [In Thai]
Prasannam, N. (2019a). The ethics of nostalgia: Cultural memory and literary studies. In Suradet Chotiudomphon (Ed.), Navavithi: Contemporary Methodology in Literary Studies (pp. 45-118). Bangkok: Siam Review. [In Thai]
Prasannam, N. (2019b). The ethics of nostalgia: Cultural memory and literary studies. Bangkok: Ruean Kaew Printing 947. [In Thai]
Prasannam, N. (2021). Afterlife of Sri Burapha in Intermedial Dialogue. In Nattanai Prasannam (Ed.), The Intermedial Aesthetics (pp. 287-373). Bangkok: Siam Review. [In Thai]
Prompanjai, A. (2020). Premathipatai: Thai politics, hybrid regime. Bangkok: Illuminations Edition. [In Thai]
Sukrakhan, C. (2019). General Prem Tinsulanonda: A good person in the memory of the people of Nakhon Si Thammarat Province. Nakhon Si Thammarat: Prayoon Printing. [In Thai]
Thai Prayoon, K. (2018). Political charisma: General Prem Tinsulanonda. (2nd ed.). Bangkok: Classic Scan Company Limited. [In Thai]