การศึกษาเปรียบเทียบการละคำลักษณนามที่คู่กับคำนามในภาษาจีนและภาษาไทย

Main Article Content

อาทิตยา หล่าวเจริญ
ธีรภาพ ปรีดีพจน์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและสรุปกฎการละคำลักษณนามที่คู่กับคำนามในภาษาจีน และ 2) เปรียบเทียบกฎการละคำลักษณนามในภาษาจีนกับภาษาไทย โดยใช้เครื่องมือวิจัย 2 อย่าง ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เอกสารทุติยภูมิ (Secondary Data) และแบบบันทึกประโยคภาษาจีน จากการศึกษาพบว่า ในภาษาจีนคำลักษณนามที่คู่กับคำนามที่สามารถละได้มี 3 กรณี คือ 1) บริบทของการเขียนข่าว โดยเฉพาะการพาดหัวข่าว 2) การอ้างอิงถึงคนหรือสิ่งที่ถูกกล่าวมาก่อน ซึ่งเป็นคนหรือสิ่งที่ผู้พูดกับผู้ฟังเข้าใจตรงกัน และ 3) การแจกแจงจำนวนหรือองค์ประกอบของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีจำนวนหรือองค์ประกอบตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป ส่วนคำลักษณนามที่คู่กับคำนามที่ไม่สามารถละได้มี 4 ประเภท คือ 1) คำลักษณนามที่เป็นหน่วยวัดตวง 2) คำลักษณนามที่บอกจำนวนคู่หรือกลุ่ม 3) คำลักษณนามประมาณการ และ 4) คำลักษณนามที่เป็นคำนามบอกเวลา เมื่อนำมาเทียบเคียงกับลักษณะเดียวกันในภาษาไทยพบว่า กรณีที่ละคำลักษณนามได้เหมือนกัน 2 ลักษณะ คือ 1) การละคำลักษณนามในบริบทของการเขียนข่าว 2) การละคำลักษณนามเพื่อแจกแจงจำนวนหรือองค์ประกอบ ต่างกัน 1 ลักษณะ คือ 1) การละคำลักษณนามในการชี้เฉพาะสิ่งที่ถูกกล่าวมาแล้ว สำหรับกรณีละคำลักษณนามไม่ได้ เหมือนกัน 3 ลักษณะ คือ 1) คำลักษณนามที่เป็นหน่วยวัดตวง 2) คำลักษณนามที่บอกจำนวนคู่หรือกลุ่ม และ 3) คำลักษณนามที่เป็นคำนามบอกเวลา ต่างกัน 1 ลักษณะ คือ คำลักษณนามประมาณการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Catford, J. C. (1968). Contrastive analysis and language teaching. In James E. Alatis, Monograph Series on Languages and Linguistics 19th Annual Round Table Contrastive Linguistics and Its Pedagogical Implications. School of Languages and Linguistics, Georgetown University.

Chaisathaphol, S. (2000). A comparative study of classifiers in mandarin and Thai. (Master’s thesis, Chinese Language, Chulalongkorn University). [In Thai]

Chalainanont, S. (2019). A comparison of Chinese and Thai classifiers and new nouns collocations. Journal of Translation and interpretation, 01(2), 88-122.

Huang, J. (2003). Shenglue “yi” he Shenglue Liangci. Qinghai Jiaoyu, 11. [In Chinese]

Jongsirichoke, C. (1987). Evolution of classifiers in the Rattanakosin period. (Master’s thesis, Thai Language, Thammasat University). [In Thai]

Liu, R., & Xu, J. (2022). Biaotizhong de Liangci Shenglue ji qi Lilun Jieshi. Huawen Jiaoxue yu Yanjiu (TCSOL Studies), 02, 86. [In Chinese]

Liu, Y. (2001). Shiyong Xiandai Hanyu Yufa [Practical Modern Chinese Grammar]. Beijing: The Commercial Press. [In Chinese]

Permkesorn, N. (2002). Characteristics of language use in Thai newspapers. Vannavidas Journal, 02(2), 126-136. [In Thai]

Phudhichareonrat, K. (2003). The omission of Thai classifiers. (Master’s thesis, Thai Language, Kasetsart University). [In Thai]

Sun, J. (2016). “Mei+Yi+Liangci+Mingci” Jiegouzhong “Yi” he “Liangci” de Yinxian Guilu Yanjiu. Xiandai Yuwen, 57-58. [In Chinese]

Wongpinunwatana, W. (2021). Language and mass communication. Khon Kaen: Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University. [In Thai]

Xu, H. (2020). Shilun “shuci+Liangci+Mingci” Jiegouzhong Liangci de Shenglue Qingkuang. Hanzi yu Wenhua, 9, 255. [In Chinese]

Xu, J. (2015). Yuyan Tequ de Xingzhi yu Leixing. Dangdai Xiucixue, 04, 190. [In Chinese]

Yuan, S. (2011). Ying-Han Suolueyu de Yuyi ji Yuyong Bijiao. Journal of Zhengzhou University of Light Industry (Social Science), 01, 12. [In Chinese]