การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดำเนินธุรกิจและความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ขนาดเล็กในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ 2) สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ขนาดเล็กในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ขนาดเล็ก จำนวน 10 ราย ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และคัดเลือกให้เหลือ จำนวน 3 ราย นำไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบโดยใช้เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 35 – 45 ปี มีรูปแบบการจัดตั้งธุรกิจที่หลากหลาย มีการจัดตั้งเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแบบธุรกิจครอบครัว ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ รวมไปถึงการรวมกันของเด็กในชุมชนภายใต้การดูแลของครูในโรงเรียน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจมีทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ให้ความสำคัญมากที่สุดคือด้านผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงตราผลิตภัณฑ์ที่ต้องสื่อถึงตัวผลิตภัณฑ์ สร้างความน่าจดจำในตราสินค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์และสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ รองลงมาคือการส่งเสริมการตลาดเน้นการประชาสัมพันธ์ปากต่อปาก เนื่องจากมีความน่าเชื่อถือในการบอกต่อของผู้ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือช่องทางจัดจำหน่าย เน้นการฝากจำหน่ายในร้านขายของฝากของที่ระลึกในอำเภอที่ผู้ประกอบการอาศัยอยู่และการกำหนดราคาใช้กลยุทธ์ในการตั้งราคาตามราคาต้นทุน ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Chantavanich, S. (2014). Quality research. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [In Thai]
Creswell, J. W. (2014). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches. (4th ed). California: Thousand Oaks.
Chen, Y.-Y.K., Jaw, Y.-L., and Wu, B.-L. (2016). Effect of digital transformation on organizational performance of SMEs. Internet Research, 26(1), 186-212.
Department of Agricultural Extension. (2016). Assessing the potential of community enterprises. Retrieved from https://www.opsmoac.go.th/phichit-dwl-files-442991791932 [In Thai]
Guilford, J.P. (1959) Traits of creativity. In H.H. Anderson, (ed.), Creativity and its cultivation (pp.142-161). New York: Harper & Row.
Hasanat, M. W., Hoque, A., Shikha, F. A., Anwar, M., Hamid, A. B. A., and Tat, H. H. (2020). The impact of coronavirus (Covid-19) one-business in Malaysia. Asian Journal of Multidisciplinary Studies, 3(1), 85–90.
Humphrey, A. (2005) SWOT analysis for management consulting. United States: SRI Alumni Newsletter. SRI International.
Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implementation and control. (14th Global ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Lavong, A., Chatukul, A., Chajchawanpanich, K., Pholkerd, P., and Watcharapongkasem, V. (2021). Product development guideline referring to local identity for competitiveness in Sawai-Chek Community Enterprise, Muang Distirct, Buriram.Interdisciplinary Management Journal Faculty of Management Science, Buriram Rajabhat University, 5(1), 23 – 33. [In Thai]
Office of Small and Medium Enterprise. (2022). Medium enterprise promotion plan and small size edition 4 (2016 - 2020). Retrieved from https://data.go.th/dataset/https-sme-go-th-th-page-php-modulekey-348 [In Thai]
Pongpit, S. (2009). Community enterprise manual. Bangkok: Charoenwittayapim. [In Thai]
Photisita, C. (2019). The art and science of qualitative research. (8th ed). Bangkok: Amarin Printing and Publishing. [In Thai]
Ratchawiang, A. (2017). The future entrepreneur for 4.0. Journal of Humanities and Social Sciences Valaya Alongkorn, 12(2), 79-88. [In Thai]
Social Data-based and Indicator Development Office. (2018). Thailand’s regional revenue and inequality. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board. [In Thai]
Srisuchart, N. (2018). Suitable innovation development for Thai SMEs business. journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 37(5), 1 – 19. [In Thai]
Satjasomboon, S. and Sukphan J. (2023). The competitive advantages strategies of community-based tourism: Mueang Pon Sub-District, Mae Hong Son Province. Journal of Management Science Research, Surindra Rajabhat University, 7(2), 57-69. [In Thai]
Tanhakorn, T. and Chantuk, T. (2018). Success factors for creative entrepreneurs in the creative economy. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 11(1), 396–410. [In Thai]
Teece, D. J. (2010). Business models, business strategy and innovation, Long Range Planning, 43(2-3), 172-194.
Waltz, C.F., Strickland, O. and Lenz, E.R. (2010). Measurement in nursing and health research. New York: Springer Publishing Company.
Wongchaiya, S. and Phuenpha, P. (2018). The influence of Business Strategies and Entrepreneur’s Characteristics that affected to Success of Small and Medium Business. Journal of Researcher Association, 22(2), 139-152. [In Thai]