การพัฒนากระบวนการถ่ายทอดอาชีพทำปานซอยในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน 2) จัดทำแผนพัฒนาอาชีพการทำปานซอยด้วยกระบวนการวิจัย และ 3) พัฒนากระบวนการถ่ายทอดอาชีพการทำปานซอย ใช้วิธีวิจัยและพัฒนา ใน 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 หาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน และประเมินความพึงพอใจต่อแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ระยะที่ 2 จัดทำแผนพัฒนาอาชีพการทำปานซอยด้วยกระบวนการวิจัย ประเมินความความเป็นไปได้ของแผนพัฒนาอาชีพการทำปานซอยโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และระยะที่ 3 พัฒนากระบวนการถ่ายทอดอาชีพการทำปานซอย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกภูมิปัญญาการทำปานซอยและผู้ประกอบอาชีพปานซอย จำนวน 30 คน เพื่อประเมินความถูกต้องและความเหมาะสมของกระบวนการ ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ได้แก่ 1) การออกแบบผลิตภัณฑ์ปานซอยโดยประยุกต์เข้ากับวัสดุท้องถิ่น 2) การผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นระหว่างปานซอยกับภูมิปัญญาด้านอื่น และ 3) การประยุกต์รูปแบบผลิตภัณฑ์ปานซอยให้มีความร่วมสมัยสามารถจำหน่ายเป็นของใช้หรือของที่ระลึกได้ โดยความพึงพอใจต่อแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน เฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. แผนพัฒนาอาชีพการทำปานซอยด้วยกระบวนการวิจัย มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการดำเนินงาน 4) แนวทางการพัฒนาอาชีพปานซอย 5) กระบวนการถ่ายทอดอาชีพ และ 6) การประเมินผล โดยทุกองค์ประกอบมีคุณภาพด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และ 3. กระบวนการถ่ายทอดอาชีพการทำปานซอย “PANSOI Process” แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่1) การเตรียมความพร้อม 2)การสร้างทัศนคติ 3) การสร้างความคิดใหม่ 4) การสร้างทักษะการทำงาน 5) สร้างทักษะการสังเกต และ 6) การพัฒนาความคิดเชิงนวัตกรรม ด้านการประเมินกระบวนการมีความถูกต้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Chaemkrajang, S., Yodnil, S., and Sudprasert R. (2015). Participatory action research (PAR): Integrates community plans into three-year planning. (B.E. 2558-2560) Bang Phra Subdistrict Municipality,
Si Racha District, Chonburi Province. Journal of Education and Social Development, 10(2), 200-211. [In Thai]
Chimboonma, P. (2021). The Model of teaching process for sheet-metal plates: Parn Soi Mae Hong Son Province. Chiang Mai: Faculty of Science and Technology. Chiang Mai Rajabhat University. [In Thai]
Chimboonma, P. (2022). The development of teaching process, sheet-metal plates: Parn Soi, Mae Hong Son province. Chiang Mai: Faculty of Science and Technology. Chiang Mai Rajabhat University. [In Thai]
Cohen, J. M. and Uphoft, N. T. (1977). Rural development participation: concept and measures for project design, implementation and evaluation. (Rural Development Monograph No.2). Ithaca NY: Rural Development committee center for international Studies, Cornell University.
Nonaka, I. and Toyama, R. (2003). The knowledge-creating theory revisited: Knowledge creation as a synthesizing process. Journal of Knowledge Management Research & Practice, 1(1), 2-10.
Jamjai, A., Sakuntanaka, P., and Suwatanpornkul, I. (2021). A study of the phenomenon of transferring creativity from local wisdom in Bangkok. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(6), 156-174. [In Thai]
Kaosol, N. (2018). Thai local wisdom and evolution of boats. Journal of Chandrakasemsarn, 24(46), 30-45. [In Thai]
Koocharoenpisal, N., Butsai, S., and Kuman, S. (2018) Development of the science activity packages based on local wisdom to develop learning outcome of 5th grade students. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University, 12(2), 117-134. [In Thai]
Kumjudpai, S. (2010). Participatory action research to develop a model for developing teachers with the ability to organize learning that emphasizes thinking: A case study of Ban Tha Wat School. “Kururat Bamrungwit” Sakon Nakhon Educational Service Area Office 1. Rajabhat Sakon Nakhon University Journal, 2(3), 50-66. [In Thai]
Lavong, A., Chatukul, A., Chajchawanpanich K., Pholkerd, P., and Watcharapongkasem, V. (2021). Product development guideline referring to local identity for competitiveness in Sawai-Chek community enterprise, Muang Distirct, Buriram. Interdisciplinary Management Journal Faculty of Management Science, Buriram Rajabhat University, 5(1), 23-32. [In Thai]
Namjaidee, S. (2022). An analysis of the role of personal media in transferring knowledge and working wisdom Pak Thong Chai silk Nakhon Ratchasima Province. Community Research Journal, 16(1), 104-115. [In Thai]
Pomthongkam, S. (2009). Art source 2 Painting in Mae Hong Son Province. Chiangmai: Charat Thurakit. [In Thai]
Royal Academy. (2003). Royal Institute Dictionary, 1999. Bangkok: Nanmee Books Publishing.
Saenchai, P. (2011). The process of transferring knowledge of hand-woven cotton handicrafts to the community Ban Don Luang, Lamphun Province. Chiangmai: Chiangmai University. [In Thai]
Saithep, K. and Permthai, P. (2017). Guideline for the community product development for export of artificial. Journal of Modern Management Science, 10(2), 1-11. [In Thai]
Sricharoenpramong, S., Yingyong R., and Thipsot, S. (2020). Guidelines for developing local products to link with tourism in the Ban Bang Kacha community Chanthaburi Province. Rajabhat Chiang Mai Research Journal, 21(2), 157-166. [In Thai]
Srimanee K. (n.d.). Thai Yai pattern art. n.p.: Mae Hong Son. [In Thai]