พัฒนาการและแนวโน้มงานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทย

Main Article Content

ขนิษฐา ใจมโน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและแนวโน้มงานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทย โดยเก็บข้อมูลจากชื่อวิทยานิพนธ์และบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ทุกเรื่องที่ปรากฏบนฐานข้อมูล Thailis (Thai Library Integrated System) ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 ถึงปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นปีปัจจุบันที่ทำวิจัย โดยเลือกการค้นหาแบบเบื้องต้น (Basic Search) และกำหนดการสืบค้นคำศัพท์จำนวน 3 คำ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาถิ่น และภาษาศาสตร์ เพื่อให้ได้ผลการวิจัยครอบคลุมวัตถุประสงค์ การเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลนี้เพราะเป็นฐานข้อมูลที่สามารถสืบค้นข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของวิทยานิพนธ์ที่รวบรวมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 1,525 เรื่อง จำแนกวิทยานิพนธ์เป็นประเภทต่าง ๆ และนับจำนวนหาค่าความถี่ร้อยละอย่างง่ายเพื่อแสดงให้เห็นพัฒนาการและแนวโน้มงานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทย ผลการศึกษาพบว่า สามารถจำแนกงานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทยเป็น 7 กลุ่ม เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1) งานวิทยานิพนธ์ด้านไวยากรณ์ไทย 2) งานวิทยานิพนธ์ด้านการใช้ภาษาไทย 3) งานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทยถิ่น 4) งานวิทยานิพนธ์ที่เปรียบเทียบภาษาไทยกับภาษาต่างประเทศ 5) งานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ 6) งานวิทยานิพนธ์ด้านอักษร อักขรวิธี และตัวอักษร และ 7) งานวิทยานิพนธ์ด้านอวัจนภาษา สำหรับการสังเคราะห์งานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทย งานวิจัยนี้ทำให้เห็นแง่มุมต่าง ๆ เพื่อหาประเด็นของเรื่องที่จะทำวิจัย ขอบเขตการวิจัย กรอบแนวคิดหรือทฤษฎีที่นำมาใช้ในการวิจัย ตลอดจนผลการวิจัย นอกจากนั้นผลการวิจัยชี้ให้เห็นแนวโน้มงานวิทยานิพนธ์ว่า งานวิทยานิพนธ์ด้านไวยกรณ์ไทยและงานวิทยานิพนธ์ด้านการใช้ภาษาไทยเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของผู้ศึกษาด้านภาษาไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


หากเปรียบต่างงานวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทยระดับมหาบัณฑิตและระดับดุษฎีบัณฑิตจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า งานวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตมุ่งเน้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับภาษา การวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีหรือกรอบแนวคิดต่าง ๆ ในขณะที่งานวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต ไม่เพียงแต่ศึกษาปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับภาษาเท่านั้น หากแต่มุ่งหาคำตอบที่จะพิสูจน์ข้อสมมุติฐานการวิจัยที่ลุ่มลึก ได้แก่ การหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษา หรือแม้กระทั่งการนำทฤษฎีหรือกรอบแนวคิดทางภาษามาประยุกต์ใช้กับส่วนใดส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์ อันจะเป็นการขยายองค์ความรู้ใหม่ให้กับงานวิจัยทางด้านภาษาไทยที่ศึกษาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonprasert, P. (2010). Development and trends of the thesis of Thai language and literature of Srinakharinwirot University. In the 2nd International Conference on Humanities and Social Sciences. April 10th, 2010. Songkhla: Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkhla University.

Chaimano, K. (2019). Synthesis and trends in sociolinguistics researches. MangraiSaan Journal, 7(1),71-90. [In Thai]

Glass, G., McGaw, B., & Smith, M. (1981). Meta-analysis in social research. Newbury: Sage Publications.

Nikhamanon, P. (2005). Research in education and social sciences. Bangkok: Agsara Press. [In Thai]

Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). National Strategy 2018-2037. Bangkok: National Strategy Secretariat Office. [In Thai]

Paruchakul, W. (2017). Thai collection literatures of East and Southeast Asia. Bangkok: Khombang. [In Thai]

Phengsawat, W. (1998). Research methodology. Bangkok: Suweriyasarn. [In Thai]

Prasannam, N. & Roungtheera, T. (2013). Research on temporary Thai literature: A compilation of abstracts and bibliography. Bangkok: Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture. [In Thai]

Wiratchai, N. (2009). Linear structural relationship mode: Statistical analysis for research. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [In Thai]