ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติ ในวรรณกรรมเยาวชน เรื่อง ทุ่งหญ้า ป่าข้าว เจ้าเขากาง และผม และ เรื่อง เด็กชายต้นไม้: วิเคราะห์ตามแนวคิดวิจารณ์เชิงนิเวศ

Main Article Content

รุ่ยจือยี่ จาง
ธนพร หมูคำ
ภูริวรรณ วรานุสาสน์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติที่ปรากฏในวรรณกรรมเยาวชน เรื่อง “ทุ่งหญ้า ป่าข้าว เจ้าเขากาง และผม” และ “เด็กชายต้นไม้” กลุ่มตัวอย่าง คือ วรรณกรรมเยาวชน เรื่อง “ทุ่งหญ้า ป่าข้าว เจ้าเขากาง และผม” และ “เด็กชายต้นไม้” โดยใช้แนวคิดวิจารณ์เชิงนิเวศ (Ecocriticism) ของ Cheryll Glotfelty เป็นแนวทางการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ในวรรณกรรม เรื่อง “ทุ่งหญ้า ป่าข้าว เจ้าเขากาง และผม” และ “เด็กชายต้นไม้” มีการประกอบสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) มนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติพึ่งพากันและกัน โดยประกอบสร้างตัวละครเอกให้มีจริยธรรมที่ดีต่อสัตว์และสำนึกรักสิ่งแวดล้อม 2) ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์และธรรมชาติ ยังปรากฏว่ามนุษย์เป็นผู้ทำลายสิ่งแวดล้อมและสัตว์ด้วยน้ำมือของมนุษย์ โดยมีการสร้างตัวละครที่มีพฤติกรรมทำลายธรรมชาติ และ 3) นำเสนอความโหดร้ายของธรรมชาติ ที่ลงโทษมนุษย์จากการกระทำของมนุษย์ที่ทำลายธรรมชาติ เป็นการอธิบายถึงการลงโทษมนุษย์ที่ธรรมชาติเอาคืนมนุษย์ เช่น วาตภัย อุทกภัย อัคคีภัยที่มาแบบไม่ทันตั้งตัว ทั้งนี้วรรณกรรมเยาวชนเป็นเครื่องมือในการสร้างและปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตสำนึกเชิงนิเวศ ผ่านตัวละครเอก ฉาก เหตุการณ์ และสถานการณ์ที่ต้องให้ตัวละครเอกหาวิธีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonchai, K. (2023a). Eco-culture from ecological anthropology to the Thai environmental movement. Retrieved from https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/517 [In Thai]

Boonchai, K. (2023b). Policy turning point in ecological protection and environmental democracy. Retrieved from https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/461 [In Thai]

Chanthamat, T. and Sangkhaphanthanon, T. (2019). Representation of nature and environment with dynamic of ecological consciousness in Thai novels between B.E. 2475-2556 (1932-2013). Journal of MCU Peace Studies, 7(1), 213-223. [In Thai]

Ekarun. (Pseud.). (2020). Tungya Phakhao Chaokhaogang lae Phom. Bangkok: Nanmeebooks. [In Thai]

Glotfelty, C. (1996). The ecocriticism reader: Landmarks in literary ecology. Athens: University of Georgia Press.

Gerdpimai, W. (2023). “Ngu Ngon Thong” Tale: The study of the relationship between man and nature based on the Ecocriticism theory. Mangrai Saan Journal, 11(1), 91-107. [In Thai]

Kaewthankham, C. (2018). Repressentation ecological self in poetry “Plant flowers on the hill”. Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia, 24(3), 223-237. [In Thai]

Keawsi, P., Nakkaew, P., Choojanthong, R., Viriyasattha, N., Dinlansagoon, M., and Jeennoon, P. (2021). Status of literature research using the concept of ecological conscience between 1994–2020. In The 12th Hatyai National and International Conference (pp. 418-433). Hatyai: Hatyai University. [In Thai]

Kokhao, W. (2021). Environmental policy and management / Soparat Jarusombat. Retrieved from https://sac.or.th/portal/th/article/detail/290 [In Thai]

Mitrapiyanurak, S. (2020). Dekchai Tonmai. (2nd ed.). Bangkok: Nanmeebooks. [In Thai]

Naijarun, k. (2021). From literature to raising ecological consciousness among youths: A case study for Wankaeo Youth Novel Award. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Humanities and Social Sciences), 16(1), 71-84. [In Thai]

Ngaochaiphum, K., Biadkhuntod, J., Papor, P., Promkuntha, P., and Chompuphra, P. (2018). The study of conception ana strategies for presenting in the youth literature of a little Garuda. Panya, 25(2), 18-27. [In Thai]

Phuangsombat, N. (2021). The use of morality in literature as a guideline to Encourage youth’s behavior. Wiwitwannasan, 5(3), 171-201. [In Thai]

Pradittatsanee, D. (2016). Examining environmental issues through the lens of contemporary American literature. Bangkok: Copyright of Chulalongkorn University Press. [In Thai]

Sangkhaphanthanon, T. (2013). Ecocriticism in Thai literature. Bangkok: Nakhon. [In Thai]

Sangkhaphanthanon, T. (2023). Ecolinguistics: New ways of meaning. Aksara Pibul Journal, 4(2), 121-150. [In Thai]

Sangkhaphanthanon, T. and Sangkhaphanthanon, L. (2018). Green folklore: Folklore studies, in the View of Ecocriticism. Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia, 24(3), 3-30. [In Thai]

Singthong, U. Mookham, T. Munying, W. and Waranusant, P. (2023). The relationship of human and nature in Kamin Kamani’s literary works: Discourse analysis. Mangrai Saan Journal, 11(2), 99-116. [In Thai]

Wirojchoochut, M. (2022). Importance of multicultural literature for young Thai readers. Thammasat Journal, 41(2), 27-43. [In Thai]

Wirawan, W. (2019). Nature as a theme in the young adult fiction, Baan Chai Thung. Journal of Humanities and Social Sciences, 11(1), 83-108. [In Thai]