ปัญหาในการเขียนหนังสือราชการของบุคลากรสายปฏิบัติการวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Main Article Content

ปิยาภรณ์ ณ เชียงใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการเขียนหนังสือราชการ และ 2) ศึกษาแนวการเขียนหนังสือราชการที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของบุคลากรสายปฏิบัติการ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลเฉพาะหนังสือภายในและหนังสือภายนอก ของบุคลากร 44 คน หัวหน้างาน 5 งาน และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการเขียนหนังสือราชการ และจัดอบรม “เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ” โดยทดสอบความรู้หลังรับการอบรม


ผลวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการเขียนหนังสือ 4 ด้าน คือ 1) ด้านแบบฟอร์ม ก่อนอบรมร้อยละ 100 หลังอบรมร้อยละ 61.36 ได้แก่ ตั้งขอบกระดาษ การใช้ตราครุฑ การย่อหน้าบรรทัด ระยะการพิมพ์ 2) ด้านเนื้อหา ก่อนอบรมร้อยละ 31.81 หลังอบรมร้อยละ 52.27 ได้แก่ เนื้อหาไม่ครบองค์ประกอบ 5W 1H เนื้อหาไม่ตรงประเด็น ขาดการอ้างอิงข้อมูล ขาดการเชื่อมโยงเนื้อหาภาคเหตุ ภาคความประสงค์ และภาคสรุปความ เนื้อหาไม่ชัดเจน คำลงท้ายไม่เหมาะสม 3) ด้านภาษา ก่อนอบรมร้อยละ 38.63 หลังอบรมร้อยละ 20.45 ได้แก่ การใช้คำซ้ำซ้อน ชื่อเรื่องไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาและสรุปความ คำฟุ่มเฟือย ใช้ภาษาพูด สรรพนามบุคคลและคำนำหน้าไม่เป็นไปตามระเบียบฯ ขาดการเชื่อมโยงเนื้อหาภาคเหตุและภาคความประสงค์ 4) ด้านการพิมพ์ ก่อนอบรมร้อยละ 97.72 หลังอบรบร้อยละ 86.36 ได้แก่ ส่วนหัวของบันทึกข้อความขนาดตัวหนังสือน้อยกว่า 20 พอยต์ ยศของผู้ลงชื่อไม่ตรงกึ่งกลางกระดาษ เว้นวรรคระหว่างประโยคห่างเกิน ไม่ตัดคำระหว่างบรรทัด พิมพ์ผิด ข้อความตกหล่น คำซ้ำ ตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัดเกิน 1 เท่า หรือการบีบระยะห่างระหว่างบรรทัด ไม่ระบุเลขหน้าเอกสารหน้าถัดไป ตัวอักษรเล็กกว่า 16 พอยต์ และพบว่า 2. แนวทางในการเขียนหนังสือราชการของบุคลากรต้องเป็นไปตามหลัก 5W 1H ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ซึ่งบุคลากรควรทำความเข้าใจและศึกษาระเบียบฯ ให้ถูกต้องแม่นยำ รับฟังคำสั่งให้ครบถ้วน และทำความเข้าใจคำสั่ง หรือศึกษาวัตถุประสงค์ของหนังสือที่เขียน และวิเคราะห์ด้วยดุลยพินิจ เลือกใช้รูปแบบ และโครงสร้างของหนังสือให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของหนังสือที่จะร่าง ใช้คำและภาษาราชการที่ถูกต้อง เหมาะสม สื่อสาร สื่อความได้อย่างถูกต้องหมั่นสังเกตตัวอย่างโครงสร้างเพื่อเป็นแนวทางการเขียน เลือกใช้ภาษา และวิเคราะห์การเขียนจากตัวอย่างหนังสือของบุคลากรที่มีประสบการณ์ และฝึกฝนเรียนรู้พัฒนาตนเพื่อให้เกิดความชำนาญ เชี่ยวชาญและเขียนหนังสือราชการอย่างมีประสิทธิภาพ การเขียนหนังสือราชการที่มีประสิทธิภาพยังบอกถึงศักยภาพของผู้เขียน การเขียนหนังสือราชการอาจขึ้นอยู่กับรูปแบบและแนวการปฏิบัติของหน่วยงาน และสิ่งที่ผู้เขียนหนังสือควรตระหนักคือ ความเป็นจริงของหนังสือราชการต้องเป็นหนังสือที่มีประโยชน์ พึงประสงค์ และเป็นหนังสือราชการที่มีความเหมาะสมตามเวลา โอกาส สถานที่ และบุคคล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hirunpradit, P. (2013). The use of Thai language in government. (5th ed.). Bangkok: Expernet. [In Thai]

Kanka, C., Kansuwong, K., and Choimai, K. (2021). Guidelines for the developing writing of official books of the Center for Group Health. Ethnic, marginalized and migrant workers. Ethnic Health Center Marginalized and migrant workers. [In Thai]

Office of the Royal Society. (2020). Space. Retrieved from http://www.royin.go.th/?page_id=629 [In Thai]

Suvarnthada, N. and Chantarasak, A. (2011). Techniques for writing official documents, correspondences and minutes. (7th ed.). Bangkok: Parbpim. [In Thai]

Suvarnthada, N., Chantarasak, A., and Inthong, K. (2008). Techniques for writing official documents, correspondences and minutes. Retrieved from http://npu.ac.th/General/news/gook_rach.pdf [In Thai]

Prime Minister’s Office. (1963). Regulations of the Office of the Prime Minister on correspondence work B.E. 2526 (1983). Government Gazette, Volume 122 Announced on April 11, 1983. [In Thai]

Prime Minister’s Office. (2005). Regulations of the Office of the Prime Minister on Correspondence Work (No.2) B.E. 2548 (2005). Government Gazette, Volume 122, Announced on June 21, 1983. [In Thai]

Roengtham, P. (2016). Writing government documents. Bangkok: Department of Agricultural Extension. [In Thai]

Thodthankhun, T. (2020). The use of Thai language in official documents. Journal Nonthaburi Municipality, 29(7-9), 8. [In Thai]

Thodthankhun, T. (2021). Problems in writing official documents of state officials in government agencies in Bangkok between 2017-2019. RMUTSB Academic Journal (Humanities and Social Sciences), 6(1), 80-91. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/article/view/243603/170912 [In Thai]

Wangsatitwong, N. (2018). Analysis to develop moderation and writing of official books. Bangkok: King Mongkut's University of Technology North Bangkok. [In Thai]